realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

30 Sep 2015 221.6K

รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

30 Sep 2015 221.6K
 

UPDATE! โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

 
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่กำลังจะเริ่มก่อสร้างนี้ เมื่อก่อสร้างเสร็จ (สร้างเสร็จปี พ.ศ. 2562 และเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2563) จะทำให้โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานครดียิ่งขึ้น สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง โดยเส้นทางก่อสร้างระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี เป็นทางวิ่งยกระดับตลอดเส้นทาง เริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร(BTS) ที่สถานีหมอชิตไปตามถนนพหลโยธิน และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสองที่สถานีคูคต
 
ภาพงานก่อสร้าง มี.ค. 59
ได้ดำเนินการถอดแบบเสาทางวิ่งรถไฟฟ้าต้นแรกของโครงการฯ (P360) แล้ว
กำลังดำเนินการประกอบแบบเพื่อเทคอนกรีตเสาต้นต่อไป
และภาพถ่ายบริเวณสถานีสะพานใหม่ สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีรัชโยธิน ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559  

ทางผู้รับจ้างสัญญาที่ 1 บริษัท อิตาเลียนไทย ดิเวล๊อปเมนต์  ได้เริ่มรื้อถอนสะพานข้ามแยกเกษตร บริเวณจุดที่ 3 แล้ว

 

ทางผู้รับจ้างสัญญาที่ 2 กิจการร่วมค้า UN-SH-CH ทำการรื้อย้ายต้นไม้และปรับพื้นที่เกาะกลางถนนบริเวณแยกกรมพลาธิการถึงแยก คปอ.

[/wc_toggle]  

ลักษณะโครงการ เป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง มีสถานียกระดับ 16 สถานี ระยะทางรวมประมาณ 19 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานีหมอชิต ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณแยกหลักสี่และเบี่ยงออกด้านขวาเลียบไปตามขอบอุโมงค์ลอกแยกหลักสี่ และเบี่ยงเข้าสู่เกาะกลางดังเดิม ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ โดยเมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทาง จะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก (ด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ) ข้ามคลางสอง ผ่านบริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่บริเวณเกาะกลางของถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสอง (บริเวณสถานีคูคต) สถานีคูคตเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร
วงเงินลงทุน : ประมาณการค่าลงทุนด้านงานโยธาและระบบเดินรถไฟฟ้า 58,862 ล้านบาท มติ คสช. เห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557  
   

N9 - สถานีห้าแยกลาดพร้าว

ที่ตั้ง : อยู่บนถนนพหลโยธินหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมมงคล สถานีสวนจตุจักร

N10 - สถานีพหลโยธิน 24

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณซอยพหลโยธิน 24

N11 - สถานีรัชโยธิน

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณทางแยกรัชโยธิน

N12 - สถานีเสนานิคม

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณซอยเสนานิคม

N13 - สถานี ม.เกษตรศาสตร์

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีน้ำตาล สถานีเกษตรศาสตร์

N14 - สถานีกรมป่าไม้

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณสำนักงานกรมป่าไม้

N15 - สถานีบางบัว

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณโรงเรียนบางบัว

N16 - สถานีกรมทหารราบที่ 11

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณกรมทหารราบที่ 11

N17 - สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู

N18 - สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณซอยพหลโยธิน 57

N19 - สถานีสายหยุด

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณซอยสายหยุด

N20 - สถานีสะพานใหม่

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญ

N21 - สถานี รพ.ภูมิพลอดุลยเดช

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณหน้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และกรมแพทย์ทหารอากาศ

N22 - สถานี พพภ.กองทัพอากาศ

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

N23 - สถานี กม. 25

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน สถานีนี้จัดให้มีอาคารจอดรถ 1 อาคาร สามารถจอดได้ 1,042 คัน

N24 - สถานีคูคต

ที่ตั้ง : อยู่บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรคูคต สถานีนี้จัดให้มีอาคารจอดรถ 1 แห่ง สามารถจอดได้ 713 คันและศูนย์ซ่อมบำรุง

ศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง

มีพื้นที่ ประมาณ 120 ไร่ รองรับรถไฟได้ 32 ขบวน ตั้งอยู่บริเวณสถานีคูคต บริเวณคลองสองตัดกับคลองหกวา ประกอบด้วย 1. โรงจอดขบวนรถไฟฟ้า 2. โรงซ่อมบำรุงหลัก 3. โรงล้างขบวนรถไฟฟ้า 4. สถานีรถไฟฟ้าย่อย 5. รางทดสอบ 6. อาคารบริหารและศูนย์ควบคุมกลางการเดินรถ และอาคารประกอบอื่น ๆ  

อาคารจอดรถ 2 แห่ง

1. ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 25 ตรงข้ามกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กองทัพอากาศ เชื่อมต่อกับสถานี กม. 25 สามารถจอดรถได้ประมาณ 1,042 คัน 2. ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรคูคต เชื่อมต่อกับสถานีคูคต สามารถจอดรถ ได้ประมาณ 713 คัน
อาคารจอดแล้วจร สถานี กม.25 (อัพเดท เม.ย. 59) อาคารจอดแล้วจร สถานี คูคต (อัพเดท เม.ย. 59)
 

โครงสร้าง

ทางยกระดับรองรับรถไฟฟ้า 2 ทาง โดยสถานีทั่วไป สถานี N9-N16 และสถานี N18-N20 ความสูงประมาณ 17.5 เมตร ความกว้างประมาณ 28 เมตร ระยะห่างระหว่างช่วงเสา 15 เมตร คานที่ใช้ในการรองรับทางวิ่งจะเป็นโครงสร้างที่ใช้วิธีการก่อสร้างแบบชิ้นส่วนหล่อสำเร็จในโรงงานแล้วนำมาประกอบติดตั้ง เพื่อให้งานก่อสร้างสามารถดำเนินการได้รวดเร็ว

ราง

ความกว้างขนาดทางรถไฟตามโครงการนี้ใช้ความกว้างมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1.435 เมตร วัดจากริมรางในของทางรถวิ่ง 

ขบวนรถไฟฟ้า

 รถไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลต์ โดยรถไฟฟ้าจะเป็นแบบ 4 ถึง 6 ตู้ต่อหนึ่งขบวน ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
 

จากปัญหาโครงสร้างทับซ้อนและปัญหาจราจรระหว่างก่อสร้างทั้งหมด 4 จุด ได้แก่

จุดที่ 1

บริเวณห้าแยกลาดพร้าว

ต้องยกระดับรางรถไฟข้ามทางด่วนโทลล์เวย์ค่อนข้างสูงส่งผลกระทบการจราจรเนื่องจากเป็นจุดตัดของ ถ.พหลโยธินและถ. วิภาวดีฯ

จุดที่ 2

บริเวณแยกรัชโยธิน

บริเวณแยกรัชโยธิน ต้องรื้อสะพานข้ามแยกเดิม และปรับเป็นอุโมงค์ทางลอดแทน

จุดที่ 3

บริเวณแยก ม.เกษตรศาสตร์

ต้องรื้อและปรับโครงสร้างสะพานให้สั้นลงจากเดิม คงไว้ให้เป็นสะพานข้ามทางแยกเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับสร้างสถานี

จุดที่ 4

บริเวณอนุสาวรีย์หลักสี่

เป็นจุดร่วมกับสถานีรถไฟฟ้าสีชมพู มีสะพานข้ามแยกของกรมทางหลวงขวางอยู่ ทำให้ต้องมีการปรับแผนกับกรมทางหลวง

ที่มา : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่  

รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon