ซึ่งมี 6 ช่วงส่วนต่อขยายที่ได้มีการศึกษาโครงการเพิ่มเติมจากสายสีแดงเดิมที่ได้ศึกษาไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยทั้ง 6 ช่วงส่วนต่อขยายนี้ ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชี, หัวลำโพง-มหาชัย, สายสีแดงเข้ม มหาชัย - ปากท่อ, สายสีแดงอ่อน พญาไท - แม่น้ำ, สายสีแดงอ่อน หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา และสายสีแดงอ่อน ศาลายา - นครปฐม ช่วงส่วนต่อขยายนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาศึกษาโครงการอยู่ ยกเว้นสายสีแดงช่วงธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชีที่ได้รับการอนุมัติโครงการเป็นที่เรียบร้อย และอยู่ในขั้นตอนการเตรียมประมูล ลองไปอ่านรายละเอียดในบทความนี้กันได้เลย
จุดมุ่งหมายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง

รถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นอย่างที่กล่าวไปข้างต้นคือโครงการที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องความล่าช้าและไม่ตรงเวลาของรถไฟที่ออกมาจากสถานีกลางเดิมคือ สถานีหัวลำโพง โดยหลักๆ คือ การสร้างสถานีกลางบางซื่อขึ้นมา เพื่อให้เป็นสถานีหลักแทนสถานีหัวลำโพง
ซึ่งสถานีกลางบางซื่อสามารถรองรับปริมาณการเดินทางด้วยระบบรางได้หลากหลายระบบ รวมถึงแก้ปัญหาเรื่องขบวนรถไฟมาเจอกับจุดตัดเส้นถนนทางเดินรถด้วยการยกระดับทางรถไฟข้ามถนน หรือบางจุดก็ลดระดับทางรถไฟให้ลอดถนน (อุโมงค์) ซึ่งนอกจากนั้นก็ยังมีการเปลี่ยนขบวนรถไฟชานเมืองที่วิ่งบนระดับพื้นดินให้กลายเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองอีกด้วย ข้อดีคือ ขบวนรถมีรอบวิ่งที่ถี่ขึ้น ตารางเวลาแน่นอนชัดเจน สะดวกสบายขึ้น
รวมถึงความเร็วในการวิ่งที่เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 120-160 กม./ชม. และรถไฟที่วิ่งจะแบ่งออกเป็นสองขบวนคือ รถไฟที่จอดทุกสถานี กับรถไฟที่จอดเฉพาะสถานีใหญ่ (เป็นรูปแบบรถไฟทางไกล) และมีรถไฟขนส่งที่ค้าซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิ่งในเวลากลางคืน
โดยเส้นสีแดงยังเป็นโครงข่ายที่วิ่งไปเชื่อมต่อกับสายอื่นๆ ที่กระจายตัวอยู่โดยรอบกรุงเทพฯ และฝั่งชานเมือง โดยรถไฟฟ้าสายสีแดงจะแบ่งออกเป็นสายหลักทั้งหมดสองสาย คือ สายสีแดงเข้ม รังสิต-หัวลำโพง (ซึ่งเป็นการวิ่งจากทิศเหนือถึงทิศใต้) และสายสีแดงอ่อน ศาลายา-หัวหมาก (วิ่งจากตะวันตกไปยังตะวันออก) ซึ่งสายล่าสุดที่กำลังจะเปิดให้บริการในปี 2564 คือ สายสีแดงอ่อน บางซื่อ-รังสิต และสายสีแดงอ่อน บางซื่อ - ตลิ่งชัน พร้อมกับการเปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อ
รูปแบบรถไฟฟ้าสายสีแดง
สายสีแดงเข้ม
- - ตัวรถ ฮิตาชิ Series2000 (Class2000)
- - ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.86 เมตร ยาว 20 เมตร ต่อตู้ สูงประมาณ 3.7 เมตร
- - รูปแบบขบวนรถไฟสายสีแดงเข้ม 6 ตู้ต่อขบวน มีทั้งหมด 15 ขบวน 90 ตู้
- - มีความเร็วสูงสุด 152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- - ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ เพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ
- - สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 18,213 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
- - จุผู้โดยสารได้สูงสุด 1,366 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร)
- - ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ
สายสีแดงอ่อน
- - ตัวรถ ฮิตาชิ Series2000 (Class2000)
- - ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร
- - รูปแบบขบวนรถไฟสายสีแดงอ่อน 4 ตู้ต่อขบวน มีทั้งหมด 10 ขบวน 40 ตู้
- - มีความเร็วสูงสุด 114 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- - ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ เพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ
- - สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 11,960 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
- - ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงกับ เส้นทางเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link)
image : heidelbergcement.com
รถไฟทั้งสองสายจะให้บริการผู้โดยสารคนละกลุ่ม โดยเส้นเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) จะวิ่งได้ไวกว่าเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเชื่อมต่อระหว่างสนามบินทั้งสองที่ คือ สนามบินสุวรรณภูมิ กับ สนามบินดอนเมือง โดย Airport Rail Link จะเป็นเส้นทางขนานไปกับเส้นรถไฟสายสีแดง และใช้เป็นเพียงเส้นทางเสริม มีระยะทางแค่ส่วนหนึ่งของสายสีแดงทั้งหมด และมีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 200,000 คน/วัน
กล่าวโดยสรุป คือ รถไฟฟ้าสายสีแดงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการวางรากฐานของรถไฟทางไกลของประเทศในอนาคต ซึ่งเป็นการใช้รูปแบบรถไฟพื้นฐานที่รองรับได้ทั้งรูปแบบดีเซลและไฟฟ้า โดยตัวรางยังคงใช้ขนาด 1 ม. อยู่เพื่อให้รถเดิมสามารถวิ่งได้ เนื่องจากงบประมาณที่มียังไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแบบ 1.435 ม. ได้ ซึ่งหากเปลี่ยนต้องเปลี่ยนทั้งหมด งบที่ใช้จะมากกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเสียอีก จึงไม่คุ้มค่าในการลงทุน (1.435ม. เป็นขนาดมาตรฐานของรางรถไฟทั่วโลก)