realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

เขื่อนภูมิพล

25 Oct 2017 14.7K

เขื่อนภูมิพล

25 Oct 2017 14.7K
 

เขื่อนภูมิพล เกิดขึ้นจากความต้องการแก้ปัญหาเรื่องทรัพยากรที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะเรื่องการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรน้ำในหลายจังหวัด โดยเริ่มจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล เพราะส่วนใหญ่แล้ว ประชาชนในต่างจังหวัดจะประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก อันเป็นอาชีพสำคัญของประเทศไทยที่มีทรัพยากรดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งพระองค์ทรงทราบถึง ปัญหาในการทำเกษตร นั่นคือเรื่องของน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อเลี้ยงผลผลิตการเพาะปลูก จึงเริ่มมีพระราชดำริเกี่ยวกับระบบการจัดการน้ำแก่พื้นที่เหล่านั้น 
รวมถึงปัญหาสำคัญการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในหลายจังหวัดของประเทศ ที่เริ่มจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงจักรไฟฟ้าถูกระเบิดเสียหาย ในขณะเดียวกัน ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีมากขึ้น แม้รัฐบาลจะพยายามซ่อมแซมและติดตั้งเครื่องเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเริ่มมีแนวคิดโครงการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศไทยมีแม่น้ำหลายสาย ถ้าสามารถสร้างเขื่อนขนาดใหญ่และโรงไฟฟ้าขวางทางแม่น้ำได้ จะเป็นการประหยัด กว่าการสร้างโรงไฟฟ้ากังหันน้ำหรือเครื่องยนต์ดีเซล นอกจากนี้ ยังสามารถแก้ปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรน้ำ เพราะเขื่อนสามารถควบคุมและบริหารการระบายน้ำได้อย่างเหมาะสม จึงเริ่มเกิดแนวคิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

PROJECT

  • โครงการ : เขื่อนอเนกประสงค์ภูมิพล Bhumibol Dam
  • สถานที่ตั้ง : เขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
  • พิกัด : 17.265°N 98.9°E
  • ขนาด : เป็นเขื่อนคอนกรีต สูง 154 ม. ยาว 486 ม. อาณาเขตรับน้ำ 26,386 ตร.กม.
  • ความจุ : 13,462 ล้าน ลบ.ม. ระดับสันเขื่อน + 261.00 ร.ท.ก. ระดับเก็บกักสูงสุด 318 ตร.กม. ความจุที่พักตะกอน 3,600 ล้าน ลบ.ม.

FACT

  • งบประมาณ : 2,250 ลบ. เป็นเงินกู้จากธนาคารโลก 66 ล้านเหรียญสหรัฐ ร่วมกับเงินงบประมาณ
  • ประโยชน์หลัก : กักเก็บน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ประชาชน ตั้งแต่ภาคเหนือและภาคกลางลงไปถึงจังหวัดเพชรบุรี รวม 36 จังหวัด
  • หน่วยงานควบคุมการก่อสร้าง : รัฐวิสาหกิจมีชื่อว่า "การไฟฟ้ายันฮี" ซึ่งต่อมาได้ควบรวมกับรัฐวิสาหกิจ "การลิกไนต์" และ "การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ" เป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

IMPORTANT DAYS

  • 25 กรกฎาคม 2500  ได้รับพระราชทานบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยมาเป็นมงคล นามของเขื่อนว่า “เขื่อนภูมิพล”
  • 31 กรกฎาคม 2501  ลงนามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนภูมิพลกับบริษัท Brown & Root, S.A. and Utah International Inc.
  • 24 มิถุนายน 2504  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนภูมิพล
  • 17 พฤษภาคม 2507  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนภูมิพล

โดยโครงการไฟฟ้าพลังน้ำนี้ มีมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และเริ่มมีการวางแผนถึงตำแหน่งที่ตั้งของโรงงาน บริเวณแม่น้ำสายต่างๆ แต่โครงการได้หยุดชะงักไป เพราะภาวะทางเศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และความผันผวนทางการเมือง  ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เสนอเรื่องการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำอีกครั้ง และเลือกแม่น้ำแม่กลองเป็นอันดับแรก เพราะอยู่ใกล้พระนครและธนบุรี รวมถึงสภาพบริเวณโดยรอบที่เหมาะสมในการสร้างเขื่อน แต่ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น โครงการจึงต้องระงับไปก่อน  
ต่อมา ได้นำเอาโครงการก่อสร้างไฟฟ้าพลังน้ำแก่งเรียง จังหวัดกาญจนบุรี มาพิจารณาอีกและจัดทำรายงานเสนอธนาคารโลกเพื่อพิจารณาขอกู้เงิน แต่มีข้อมูลไม่เพียงพอให้ธนาคารโลกได้พิจารณา จึงให้กรมชลประทานเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้รายละเอียดครบถ้วนเพียงพอและดินทางไปสำรวจและศึกษาพื้นที่ทางภาคเหนือเพราะกรมชลประทานมีข้อมูลเกี่ยวกับแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ภายหลังการพิจารณาข้อมูลทั้งหมดอย่างรอบด้าน จึงตัดสินใจสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่ แม่น้ำปิงที่เขายันฮี จังหวัดตาก เพราะสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เพียงพอแก่ความต้องการ รวมถึงจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศได้
เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ อีกทั้งยังเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อ “เขื่อนยันฮี” ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระปรมาภิไธย เปลี่ยนชื่อเขื่อนเป็น “เขื่อนภูมิพล” เขื่อนภูมิพลมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก สร้างปิดกั้นลำน้ำปิง ที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 300 ตร.กม. ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กม.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จทอดพระเนตรระบบการทำงานของเขื่อนภูมิพล
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 ด้วยพระองค์เอง การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 1 - 2 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม และ 15 มิถุนายน 2507 ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507 ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 3 - 6 กำลังผลิตเครื่องละ 70,000 กิโลวัตต์ โดยเครื่องที่ 3 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน วันที่ 11 พฤษภาคม, 9 สิงหาคม 2510, 25 ตุลาคม และวันที่ 19 สิงหาคม 2512 ตามลำดับ และเครื่องที่ 7 กำลังผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในวันที่ 18 ตุลาคม 2525

เขื่อนภูมิพลในขณะการดำเนินการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ 

เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกไป ในปี พ.ศ.2531 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องที่ 1 - 2 ทำให้มีพลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเครื่องละ 6,300 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้  เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 และพฤศจิกายน 2536 ตามลำดับ ส่วนการปรับปรุงเครื่องเครื่องที่ 3 - 4 มีการปรับปรุงกำลังผลิตเท่ากันกับเครื่อง ที่ 1 - 2 เมื่อแล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสิงหาคม 2540 ตามลำดับ  นอกจากนี้ ในปี 2534 กฟผ.ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ 8 แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต 171,000 กิโลวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม 2539 ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล มีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 779.2 เมกกะวัตต์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทอดพระเนตรระบบการจัดการน้ำในเขื่อน

ที่มา : http://www.neutron.rmutphysics.com
โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล มีหลักการการผลิตกระแสไฟฟ้า คือ การใช้แรงดันน้ำที่กักเก็บในอ่างเก็บน้ำ (Reservoir) มาดันให้กังหันน้ำ (Turbine) ให้หมุนโดยกังหันน้ำ ซึ่งเป็นตัวต้นกำลัง ต่อเชื่อมกับส่วนที่หมุน (Rotor) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Generator) ด้วยแกน shaft ในแนวตั้ง ทำให้ Rotor หมุนตามด้วยความเร็วรอบที่เท่ากันกับ Turbine 150 รอบต่อนาที
เมื่อป้อนไฟฟ้ากระแสตรง (Excite) เพื่อกระตุ้นให้ขดรวดของ Rotor (Rotor winding) จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นที่ Rotor winding เมื่อสนามแม่เหล็กหมุนตัดกับขดรวดที่อยู่กับที่ (Stator winding) แรงดันไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นที่ Stator winding ที่ระดับ 13,800 โวลต์ และแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นไปที่ระดับ 230,000 โวลต์ ด้วยหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า ก่อนที่จะส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าระบบไฟฟ้าของประเทศ

เขื่อนภูมิพลมีภารกิจหลัก คือ “การระบายน้ำและการผลิตไฟฟ้า”  ให้ตรงตามแผนที่กรมชลประทานกำหนดมาให้ โดยทางด้านชลประทาน เขื่อนทำให้เราสามารถควบคุมน้ำให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้ ทั้งการกักเก็บน้ำเมื่อถึงคราวน้ำมาก เพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือเมื่อถึงหน้าแล้งก็สามารถปล่อยน้ำให้แก่พื้นที่ที่ต้องการใช้น้ำได้ เช่น พื้นที่เกษตรกรรม ทางด้านพลังงานไฟฟ้า เขื่อนสามารถนำน้ำที่กักเก็บมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ส่งออกกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ตั้งแต่ภาคเหนือและภาคกลางลงไปถึงจังหวัดเพชรบุรี รวม 36 จังหวัด 
นอกจากนี้เขื่อนภูมิพลยังกลายเป็น แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด เป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ที่สำคัญอีกด้วย นี่เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ในการใช้ทรัพยากรองค์รวมให้เกิดประโยชน์สูงสุด และวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระองค์  หลักในการจัดทำโครงการพัฒนาต่างๆ พระองค์จะทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ หรือจำนวนมากน้อยแค่ไหน ด้วยน้ำพระทัยแห่งพระปรีชาสามารถ การพัฒนาพลังน้ำในประเทศจึงเติบโตอย่างมั่นคง และเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง

พระธาตุแก่งสร้อย (เมืองโบราณ)
ปัจจุบันเขื่อนภูมิพล ไม่เพียงแต่สร้างคุณประโยชน์มหาศาลแก่ชาวไทยให้ได้มีน้ำและไฟฟ้าใช้เท่านั้น เขื่อนภูมิพลกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีทัศนียภาพสวยงามและเป้นแหล่งเรียนรู้สำคัญแห่งหนึ่งของไทย โดยทางเขื่อนได้จัดทำ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติลัดเลาะสองฝั่งลำน้ำปิงเหนือเขื่อนภูมิพล ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ตื่น เพื่อดูสภาพความหลากหลายของพื้นที่ป่าดิบเขาและการฟื้นฟูสภาพป่า ตลอดจนการศึกษาลักษณะสภาพป่าในลักษณะ ทั้งป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ภูเขาหิน ลำห้วย และน้ำตกที่สวยงาม  นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและแหล่งนันทนาการ เช่น การล่องแพและเรือสำราญในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยเป็นล่องแพที่ใช้เรือลากจูง เพื่อศึกษาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พระพุทธบาท ถ้ำอาบนาง โบราณสถานแก่งสร้อย จนถึงดอยเต่า จำหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดและได้ความรู้ไปพร้อมๆกัน อีกทั้งยังช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ตามรอยพระองค์ท่าน อีกด้วย
  . ขอขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากนิตยสาร ASA CREW ISSUE 01 - JANUARY 2017 - สถาปนิกแห่งแผ่นดิน และกรมชลประทาน  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon