realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

สะพานภูมิพล

25 Oct 2017 9.5K

สะพานภูมิพล

25 Oct 2017 9.5K
 

สะพานภูมิพล เกิดจากการเจริญเติบโตสู่การขยายตัวของสังคมเมืองและการจราจรที่คับคั่ง มีการใช้เส้นทางเพื่อการสัญจรมากขึ้น โดยเฉพาะระหว่างตัวเมืองและย่านอุตสาหกรรม ซึ่งสวนทางกับปริมาณของเส้นทางสัญจรที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้เกิดปัญหาการจราจรที่ยากจะแก้ไข
แต่ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเล็งเห็นทุกข์สุขของประชาชน จึงก่อให้เกิดโครงการสะพานภูมิพลในพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่ราษฎรได้สัญจรอย่างสะดวก รวดเร็ว รวมถึงลดมลภาวะต่างๆให้แก่ชุมชนจากปัญหารถติดบริเวณนั้น

PROJECT

  • โครงการ : สะพานภูมิพล Bhumibol Bridge
  • สถานที่ตั้ง : ทางด้านเหนือ หรือ “สะพานภูมิพล 1” เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง กทม. กับ ต.บางยอ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
  • ทางด้านใต้ หรือ “สะพานภูมิพล 2” เชื่อมระหว่าง ต.ทรงคนอง กับ ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
  • พิกัด : สะพานภูมิพล 1 : 13°40'11.9"N 100°32'18.7"E / สะพานภูมิพล 2 : 13°39'35.2"N 100°32'23.0"E
  • ขนาด : สะพานภูมิพล 1 มีความยาว 702 ม. สะพานภูมิพล 2 มีความยาว 582 ม. และความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 50 ม.

FACT

  • งบประมาณ : 8,739 ลบ. 
  • การจัดสรรงบประมาณ : ใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวน 3,660 ลบ. เงินกู้สมทบจาก JBIC วงเงิน 14,887 ล้านเยน รวมมูลค่าโครงการคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 8,739 ลบ. 
  • โดยคิดเป็นค่าเวนคืน 6,357 ลบ. ที่จ่ายให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้นจำนวน 767 ราย ที่ดิน 1,180 แปลง เนื้อที่ 347 ไร่ ค่าทดแทนที่ดินรวม 5,040 ลบ.  จำนวนสิ่งปลูกสร้าง 1,338 หลัง ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งสิ้น 1,317 ลบ. 
  • จุดประสงค์หลัก : ตอบสนองความต้องการการสัญจรระหว่างตัวเมืองและทางด้านใต้ แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด / เชื่อมโยงโครงข่ายการสัญจรโดยรอบ กทม.อย่างสมบูรณ์

IMPORTANT DAYS

  • 29 พฤษภาคม 2543 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
  • 5 ธันวาคม 2549 เปิดใช้สะพาน โดยมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม"
  •  21 ตุลาคม 2552 โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสะพานแห่งนี้ว่า "สะพานภูมิพล"
  • 24 พฤศจิกายน 2553 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอังสนาของกองทัพเรือ 
ทรงทำพิธีเปิดสะพานภูมิพลและประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ณ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

สะพานภูมิพล ประกอบด้วยกัน 2 ช่วง คือ สะพานภูมิพล 1 และ สะพานภูมิพล 2
  • โดยสะพานภูมิพล 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือ ตั้งอยู่ระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กทม. กับ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
  • ส่วนสะพานภูมิพล 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ ตั้งอยู่ระหว่าง ต.ทรงคนอง กับ ต.บางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
เชื่อมต่อกับถ.สุขสวัสดิ์ ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย ถ.พระราม 3 และ ถ.กาญจนาภิเษกเข้าด้วยกัน ทางกรมทางหลวงชนบทได้รับสนองพระราชดำริ ด้วยการจัดตั้งงบประมาณในการก่อสร้าง โดยใช้งบประมาณของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาสบทบจำนวนหนึ่ง โดยพระองค์ทรงเป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2543 ก่อนดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ สะพานภูมิพลเริ่มเปิดใช้สะพาน ในวันที่ 5 ธ.ค. 2549 นับเป็นพระอัจฉริยะภาพและสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านการวางแผนระบบการจราจรและการขนส่ง
ลักษณะของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ช่วง ประกอบด้วย
  • สะพานภูมิพล 1 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านเหนือ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ กว้าง 7 ช่องจราจร ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 326 ม. เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีตและเหล็ก ความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 128 ม. 
  • ส่วนสะพานภูมิพล 2 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านใต้ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ กว้าง 7 ช่องจราจร ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 398 ม. เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีตและเหล็ก ความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 152 ม. 
  • ซึ่งทั้ง 2 สะพาน เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง มีความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพาน ประมาณ 50 ม. เพื่อให้เรือบรรทุกหรือเรือขนส่งสินค้าสามารถสัญจรผ่านไปมาได้

ที่มา : www.flickr.com/photos/gift-of-light 

โดยการดำเนินการก่อสร้างตามแบบเดิม จะเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ติดปัญหาด้านงบประมาณ จึงปรับเป็นรูปแบบสะพานข้ามแม่น้ำแทน วิศวกรผู้ออกแบบ คือ พอลเล กุสตาฟสันส์ ชาวสวีเดน ได้เลือกรูปแบบสะพานขึง เนื่องจากข้อกำหนดว่าตัวสะพานต้องสูงกว่าระดับน้ำ ไม่น้อยกว่า 50 ม. ลักษณะโครงสร้างสถาปัตยกรรมจึงต้องมีรูปร่างเพรียว เพื่อความประหยัดค่าก่อสร้าง โดยใช้วิธีก่อสร้างทั้งสองฝั่งมาบรรจบกันตรงกลาง ทีมแขวนสะพานกำหนดระยะการเชื่อมสะพานแค่ 6 เดือน ซึ่งการเชื่อมใช้พื้นคอนกรีตหนักอัดแรง หนักชิ้นละ 480 ตันมาเชื่อมกัน ใช้เครนคู่ขนาดยักษ์ในดึงคอนกรีตขึ้นจากเรือขนส่งด้านล่าง 
ซึ่งการยกคอนกรีตมีเวลาแค่ 4 ชม. ต่อวันเท่านั้น เพื่อเปิดทางให้การจราจรทางน้ำให้เป็นปกติ  ทั้งนี้ การก่อสร้างสะพานทั้ง 2 แห่ง ใช้เวลาในการก่อสร้างอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4 เดือนก็แล้วเสร็จ จากกำหนดเดิมคือ 6 เดือน ถูกบันทึกในสถิติโลกว่า เป็นการสร้างสะพานขึงคู่ที่สร้างเร็วที่สุดในโลก จากเสียงของประชาชนในพื้นที่และผู้ใช้สะพานแห่งนี้ในการสัญจร ต่างก็มีความปลื้มปีติในโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรจากโครงการตามพระราชดำรินี้ มากกว่านั้น ยิ่งทำให้เรารับรู้ถึงความห่วงใยและความใกล้ชิดพสกนิกรของพระองค์ เพราะนี่เป็นสะพานเดียวที่ใช้ชื่อสะพานเป็นพระนามของพระองค์เอง
 

ปัญหาการสัญจรนั้นจำเป็นต้องแก้อย่างเป็นระบบ ให้เกิดเป็นโครงข่ายการสัญจรที่มีประสิทธิภาพ นับตั้งแต่พุทธศักราช 2514 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริโครงการถนนวงแหวน (Ring Road) เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายให้เกิดความสมบูรณ์รอบกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโครงการพระราชทาน นำร่องไปสู่การแก้ปัญหาการจราจรด้วย วงแหวนขนาดใหญ่ อันประกอบไปด้วย ถ.วงแหวนรอบในหรือถ.รัชดาภิเษก และ ถ.วงแหวนรอบนอกหรือถ.กาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นโครงข่ายถนนวงแหวนล้อมรอบตัวเมือง 3 ด้าน ทั้งด้านตะวันตก ตะวันออก และใต้ ครอบคลุมพื้นที่กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ และพระนครศรีอยุธยา
จากโครงการดังกล่าว สู่การสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการเติมเต็มระบบถ.วงแหวนรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งสะพานภูมิพล 1 และสะพานภูมิพล 2 เป็นส่วนสำคัญของวงแหวนอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกโดยตรง โดยสะพานภูมิพลเชื่อมต่อกับถ.สุขสวัสดิ์ ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย ถ.พระราม 3 และถ.กาญจนาภิเษกเข้าด้วยกัน ซึ่งถนนทั้ง 4 เส้นนี้เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมและท่าเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง จึงเป็นที่มาของชื่อ"วงแหวนอุตสาหกรรม"นั่นเอง สามารถรองรับและกระจายความเจริญจากใจกลางเมืองหลวงออกไปทั่วประเทศ จากการเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอก ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเดินทางและแก้ไขปัญหาจราจรได้เป็นอย่างมาก
อีกทั้ง ถ.วงแหวนอุตสาหกรรมและสะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2 ยังเป็นโครงข่ายถนนวงแหวนและสะพานขึงแฝดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับการขนส่งและการลำเลียงสินค้า ระหว่างท่าเรือกรุงเทพฯและพื้นที่อุตสาหกรรม ใน จ.สมุทรปราการและภูมิภาคอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงถนนวงแหวนทั้ง 3 วง คือ “วงแหวนรัชดาภิเษก”  “วงแหวนกาญจนาภิเษก” และ “วงแหวนอุตสาหกรรม” ให้สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน 
ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม จึงเป็นการใช้ประโยชน์ของถนนในการ ลัดทาง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรพื้นที่กรุงเทพฯด้านใต้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยัง เสริมให้โครงข่ายถนนโดยรอบเกิดความสมบูรณ์

ที่มา : www.facebook.com/rak.thammarak

นอกจากประโยชน์ในการสัญจรและการบรรเทาวิกฤตจราจรแล้ว สะพานภูมิพล 1 และ 2 ยังมี ความงดงามที่โดดเด่นในแง่ของโครงสร้างทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมระดับโลก ในรูปแบบสะพานสูงตระหง่าน โดยผู้ออกแบบกำหนดให้ระหว่างสะพานทั้งสองช่วง ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายพระธำมรงค์ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านการออกแบบยอดเสมี แนวความคิดมาจากยอดเจดีย์หรือยอดชฎาอันมีค่าสูงสุด นอกจากนี้ ยังขึงด้วยสายเคเบิลสีเหลืองทอง ทอดยาวข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เปรียบประดุจพัดที่คลี่ออกอย่างงดงาม ในขณะเดียวกันเมื่อมองในมุมสูง จะให้ความรู้สึกคล้ายภาพการพนมมือเพื่อแสดงความเคารพและความนอบน้อม 
ที่เชิงสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน ยังมีการประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมอันสะท้อนถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น ประติมากรรมรูปทรงหยดน้ำสีทอง ที่ส่วนบนมีรูปอุณาโลม อันเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ โอบล้อมด้วยยอดแหลม อันหมายถึงพสกนิกร สะท้อนถึงความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทย ที่เทิดทูนพระองค์ไว้เหนือเกล้า สะพานภูมิพลแห่งนี้ จึงเป็นทั้งสถานที่ที่ ทรงคุณค่าทั้งด้านความวิจิตรงดงามทางสถาปัตยกรรม คุณค่าด้านประโยชน์ทางการสัญจร และทรงคุณค่าด้านความหมาย อันเป็นของขวัญจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มอบให้แก่ประชนชนชาวไทยทุกคน ให้ได้ใช้ชีวิตอยู่ในแผ่นดินของพ่อได้อย่างร่มเย็นต่อไป
ขอขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากนิตยสาร ASA CREW ISSUE 01 – JANUARY 2017 – สถาปนิกแห่งแผ่นดิน
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon