realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566

31 May 2023 345.1K

อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566

31 May 2023 345.1K
 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง)

Real Recap - ชี้เป้า!! สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง อยู่ไหนบ้าง ?

อัพเดตตำแหน่งสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) เตรียมเปิดให้นั่งฟรี มิ.ย. 2566 !

หากพูดถึงรถไฟฟ้า อย่างสีเหลือง (เยลโล่ว !!) แล้วนั้น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสายที่ใกล้เปิดให้ประชาชนคนทั่วไปอย่างเราๆ ได้ใช้งานกันแล้ว โดยกำหนดการล่าสุดนั้น ได้กำหนดไว้ว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะทำการเปิดทดลองวิ่งให้ได้ใช้งานกันฟรี ๆ ในช่วง มิ.ย. ปี 66 นอกจากนี้ยังมีสถานีส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี เพื่อไปเชื่อมกับ BTS ซึ่งกำหนดการของส่วนต่อขยายนี้ไม่แน่ไม่นอน เบื้องต้นจึงมีการคาดการณ์ว่าจะเปิดในปี 67 ซึ่งเดี๋ยวใกล้ ๆ คงมีการเผยกำหนดการที่ชัดเจนออกมามากขึ้น
ซึ่งหากเราดูจากเส้นทางวิ่งของสายสีเหลืองแล้ว จะสามารถรู้ได้ทันทีเลยว่าเป็นสายที่เป็นสายหลักของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกนั่นเอง นอกเหนือจากนี้แล้ว อีกจุดสำคัญของสายสีเหลือง นั่นคือ เป็นรถไฟฟ้าที่มีการ Interchange กับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ อีกถึง 6 สายด้วยกัน ฉะนั้นแล้ว หน้าที่หลักของสายสีเหลืองในบริบทเมืองกรุงเทพฯ คือ การกระจายผู้คนจากโซนที่อยู่อาศัยเข้าสู่ตัวเมืองและแหล่งงาน และสืบเนื่องจากสายสีเหลืองในใกล้จะเปิดเต็มทีแล้ว เราเลยจะมาอัพเดตให้ทุกคนได้รู้รายละเอียดตำแหน่งที่ตั้ง, ทางขึ้นลง และสถานีสำคัญรอบ ๆ แต่ละสถานีของสายสีเหลืองกันครับ

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว - สำโรง
  • มี 23 สถานีหลัก
  • 2 สถานีเสริม
  • รูปแบบเป็นรถไฟฟ้า Monorail ลอยฟ้าตลอดสาย
มีแผนเปิดให้บริการพร้อมกันทั้งสาย
  • ลาดพร้าว - มีนบุรี มี 23 สถานี กำหนดเปิด Q2/66
  • ส่วนต่อขยาย จันทรเกษม - พหลโยธิน ตามกำหนดเดิมมีแผนเปิดให้บริการ 2567
รูปแบบของสถานีจะเป็นสถานีลอยฟ้า อยู่บริเวณเกาะกลางถนน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ 6 สาย
  • สถานีลาดพร้าว เชื่อม สายสีน้ำเงิน
  • สถานีลาดพร้าว 71 เชื่อม สายสีเทา
  • สถานีแยกลำสาลีและมีนบุรี เชื่อม สายสีส้ม
  • สถานีพัฒนาการ เชื่อม Airport Rail Link
  • สถานีศรีเอี่ยม เชื่อม สายสีเงิน
  • สถานีสำโรง เชื่อม สายสีเขียว

YL01 - รัชดา

[ YL01 - ลาดพร้าว ] *เปลี่ยนจาก สถานีรัชดา เป็น สถานีลาดพร้าว*
สถานีลาดพร้าว เป็นสถานีแรกของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตัวสถานีจะตั้งอยู่บน ถ.รัชดาภิเษก โดยทางขึ้นลงที่ 3 และ 4 จะเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจรและยังสามารถเชื่อมต่อไปถึง MRT ลาดพร้าว
 

YL02 - ภาวนา

[ YL02 - ภาวนา ]
สถานีภาวนา ตัวสถานีจะตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 41 ทางขึ้นลง 1, 2, 3 และ 4 จะอยู่บริเวณ ปากซอยลาดพร้าว 41, 41/1, 46 และ ซ.ส่องแสงตะวัน
 

YL03 - โชคชัย 4

[ YL03 - โชคชัย 4 ]
สถานีโชคชัย 4 ตัวสถานีตั้งอยู่หน้าทางเข้า ถ.โชคชัย 4 และปากซอย ลาดพร้าว 56 และยังมีทางขึ้นลง 3 ที่จะอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 58
 

YL04 - ลาดพร้าว 71

[ YL04 - ลาดพร้าว 71 ]
สถานีลาดพร้าว 71 จะตั้งอยู่หน้าปากซอยลาดพร้าว 71 ใกล้กับทางพิเศษฉลองรัช โดยทางขึ้นจะสามารถขึ้นลงได้ทั้งบริเวณ ปากซอย ลาดพร้าว 71, 80/3, 84 และ ซ.ทำเนียบ ในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทาอีกด้วยครับ
 

YL05 - ลาดพร้าว 83

[ YL05 - ลาดพร้าว 83 ]
สถานีลาดพร้าว 83 จะตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 83 และ 85 ด้านทางขึ้นลง ทางขึ้นลงที่ 1 จะอยู่บริเวณ Big C Supercenter และทางขึ้นลงที่ 2 อยู่หน้า Si-ri-us Plaza
 

YL06 - มหาดไทย

[ YL06 - มหาดไทย ]
สถานีมหาดไทย ตัวสถานีจะตั้งอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 120 หรือก็คือหน้า รพ.ลาดพร้าว ใกล้ๆกับ Foodland ด้านทางขึ้นลงที่ 1 จะอยู่หน้า Foodland, ทางขึ้นลงที่ 2 อยู่หน้า รพ.ลาดพร้าว ทางขึ้นลงที่ 3 อยู่ตรง B-Quick และทางขึ้นลงที่ 4 อยู่เลยปากซอยลาดพร้าว 120 มาเล็กน้อย
 

YL07 - ลาดพร้าว 101

[ YL07 - ลาดพร้าว 101 ]
สถานีลาดพร้าว 101 เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ตามชื่อของสถานีเลย คือ อยู่บริเวณหน้าปากซอยลาดพร้าว 101 ถ้าจะมาซอยนี้เราก็สามารถใช้ทางขึ้นลงที่ 1 ได้เลยครับ ด้านทางขึ้นลงอื่นๆ ทางขึ้นลงที่ 2 จะอยู่หน้าปากซอยนครไทย และทางขึ้นลง 3 และ 4 จะอยู่บริเวณปากซอยลาดพร้าว 128/3 และ 128/1 ตามลำดับ
 

YL08 - บางกะปิ

[ YL08 - บางกะปิ ]
สถานีบางกะปิ เป็นสถานีที่เปลี่ยนจากที่วิ่งบน ถ.ศรีนครินทร์ มาวิ่งบน ถ.ลาดพร้าว ตัวสถานีนั้นจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้า Makro โดยทางขึ้นลง สามารถใช้ทางขึ้นที่ 3 ไป Makro และทางขึ้นลงที่ 4 ในการไปตลาดตะวันนา 2
 

YL09 - แยกลำสาลี

[ YL09 - แยกลำสาลี ]
สถานีแยกลำสาลี ตั้งอยู่ตรงแยก ถ.รามคำแหง ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ โดยทางขึ้นที่ 1 และ 4 จะอยู่บริเวณสี่แยกเลย
 

YL10 - ศรีกรีฑา

[ YL10 - ศรีกรีฑา ]
สถานีศรีกรีฑา เป็นสถานีแรกของเฟสที่ 2 ของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตั้งอยู่ตรงแยก ถ.กรุงเทพกรีฑา ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ ตัวสถานีจะอยู่บริเวณหน้าปากซอยกรุงเทพกรีฑา 2 ด้านขึ้นลง ทางขึ้นลงที่ 1 จะอยู่ใกล้กับอาคาร Royal Lee และทางขึ้นลงที่ 4 จะอู่ในสวนปิยะภิรมณ์ ภายในวงแหวนครับ
 

YL11 - หัวหมาก

[ YL11 - หัวหมาก ]
สถานีหัวหมาก สถานีจะอยู่บริเวณแยก ถ.พัฒนาการ กับ ถ.ศรีนครินทร์ ตัวสถานีกจะอยู่ตรงกับ MaxValu จากสถานีนี้เราสามารถเดินต่อไปถึง Airport Link หัวหมาก ได้ครับ โดยใช้ทางขึ้นลงที่ 1 ที่อยู่ตรงคอนโด The Rich พระราม 9 - ศรีนครินทร์
 

YL12 - กลันตัน

[ YL12 - กลันตัน ]
สถานีกลันตัน (ออกเสียงว่า กะ-ลัน-ตัน) ตัวสถานีจะตั้งอยู่บริเวณหน้าศูนย์การค้า ธัญญา พาร์ค
 

YL13 - ศรีนุช

[ YL13 - ศรีนุช ]
สถานีศรีนุช ตัวสถานีอยู่บริเวณ แยก ถ.สุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) ตัดกับ ถ.ศรีนครินทร์ โดยทางขึ้นลง 3 และ 4 จะเชื่อมกับ ซ.อ่อนนุช 60
 

YL14 - ศรีนครินทร์ 38

[ YL14 - ศรีนครินทร์ 38 ]
สถานีศรีนครินทร์ 38 ที่ตั้งของสถานีก็ตรงตามชื่อสถานีเลยครับ อยู่บริเวณ ซ.ศรีนครินทร์ 38 ซึ่งทางขึ้นลงที่ 3 ก็จะอยู่บริเวณนี้ด้วยครับ ด้านทางขึ้นลง 1,2 และ 4 จะอยู่บริเวณหน้าปากซอยศรีนครินทร์ 43, 45 และ ซ.แกรนด์บางกอกบูเลอวาร์ด
 

YL15 - สวนหลวง ร.9

[ YL15 - สวนหลวง ร.9 ]
สถานีสวนหลวง ร.9 ตัวสถานีจะตั้งอยู่ระหว่างซีคอน ศรีนครินทร์ และ พาราไดซ์ เพลส โดยเราสามารถใช้ทางขึ้นลงที่ 1 เพื่อไปที่ซีคอน และใช้ทางขึ้นลงที่ 2 เพื่อไป พาราไดซ์ เพลส
 

YL16 - ศรีอุดม

[ YL16 - ศรีอุดม ]
สถานีศรีอุดม ตัวสถานีอยู่ใกล้กับแยกที่ ถ.ศรีนครินทร์ ตัดกับ ถ.อุดมสุข บริเวณปากซอยศรีนครินทร์ 63 โดยทางขึ้นลง 4 จะเป็นทางขึ้นลงที่ใกล้กับ ถ.อุดมสุข มากที่สุด
 

YL17 - ศรีเอี่ยม

[ YL17 - วัดศรีเอี่ยม ]
สถานีวัดศรีเอี่ยม ตัวสถานีอยู่ฝั่งตรงข้ามของวัดศรีเอี่ยม โดยจากสถานีสามารถขึ้นลงจากฝั่งวัดศรีเอี่ยมโดยทางขึ้นลงที่ 4 นอกจากนี้แล้ว ตัวสถานีจะอยู่ติดกับอาคารจอดแล้วจร และในอนาคต สถานีนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ อีกด้วยครับ
 

YL18 - ศรีลาซาล

[ YL18 - ศรีลาซาล ]
สถานีศรีลาซาล จะตั้งอยู่บริเวณจุดเชื่อมระหว่าง ถ.ศรีนครินทร์ และ ถ.ลาซาล โดยทางขึ้นลง 1 และ 4 จะตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของบริเวณที่เป็นสี่แยก
 

YL19 - ศรีแบริ่ง

[ YL19 - ศรีแบริ่ง ]
สถานีศรีแบริ่ง จะตั้งอยู่บริเวณจุดเชื่อมระหว่าง ถ.ศรีนครินทร์ และ ถ.แบริ่ง โดยมีทางขึ้นลง 1,2,3 และ 4 อยู่หน้าปากซอยศรีด่าน 18, 16, 11 และ 13 ตามลำดับ
 

YL20 - ศรีด่าน

[ YL20 - ศรีด่าน ]
สถานีศรีด่าน เป็นสถานีที่เลี้ยวขึ้นมาอยู่บน ถ.ศรีนครินทร์ หากมองจากใต้ไปเหนือ ตัวสถานีจะตั้งอยู่ก่อนถึง ซ.ศรีด่าน 2
 

YL21 - ศรีเทพา

[ YL21 - ศรีเทพา ]
สถานีศรีเทพา ตั้งอยู่บริเวณทางเข้า ซ. อรรถสิทธิ์ ครับทางขึ้นลงที่ 2 จะอยู่ใกล้ๆ กับโชว์รูม Nissan ส่วนทางขึ้นลงที่ 4 ที่อยู่อีกฝั่งอยู่บริเวณปากซอยร่วมจิตพัฒนา
 

YL22 - ทิพวัล

[ YL22 - ทิพวัล ]
สถานีทิพวัล ตั้งอยู่บริเวณทางเข้า ถ.ประดิษฐ์สโมสร ข้างๆ กับคอมมูนิตี้ มอลล์ Palm Island Mall ทางขึ้น-ลง 1 จะอยู่ด้านหน้าคอนโด Knightsbridge สุขุมวิท-เทพารักษ์
 

YL23 - สำโรง

[ YL23 - สำโรง ]
สำหรับสถานีสำโรง จะตั้งอยู่ก่อนถึงแยก เทพารักษ์-สุขุมวิท บริเวณ ซ.เทพารักษ์ 2 โดยทางขึ้นลงที่ 1 นั้นจะเชื่อมกับ BTS สำโรงด้วย
 

YLEX01 - จันทรเกษม

[YLEX01 - จันทรเกษม ]
จะเป็นสถานีที่อยู่ในเฟสส่วนต่อขยาย ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนที่ทาง รฟม. เจรจากับทางเอกชน เพื่อหาบทสรุปของส่วนต่อขยายนี้ ว่าจะออกมาในรูปแบบใด ทั้งนี้ก็ได้มีการคาดการว่าตัวสถานีจะอยู่บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดา หรือปากซอยรัชดา 32
 

YLEX02 - พหลโยธิน 24

[YLEX02 - พหลโยธิน 24]
สถานีพหลโยธิน 24 คาดการว่า ตัวสถานีจะอยู่บริเวณ แยกรัชดาตัดกับพหลโยฺธิน โดยสถานีนี้จะเป็นสถานีที่จะเชื่อมไปถึง BTS พหลโยธิน 24 ในอนาคต

 

เผยพิกัดสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง! 2564

ครม.เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าจำนวน 2 เส้นทาง ตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการ PPP อนุมัติให้เอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นระยเวลา 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็น ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสาร โดยรัฐบาลมีรายจ่ายเฉพาะค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่เหลือเอกชนลงทุนทั้งหมด อาทิ ค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ คาดว่าเปิดให้บริการได้ในปี 2565
         การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้แจ้งความคืบหน้าล่าสุดว่าได้ดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะสามารถทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการได้ในเดือนเมษายน 2561นี้ ซึ่งล่าช้ากว่าที่เคยแจ้งกับทางบริษัท BTS ไว้ว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้ได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2561 ทาง BTS จึงขอให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดให้ รฟม.ทยอยส่งมอบพื้นที่เร็วขึ้น ซึ่ง รมช.กระทรวงคมนาคมได้รับเรื่องไว้แล้ว และจะประสานสั่งการไปยัง รฟม.ต่อไป          นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ระบุว่ามีความยาก เนื่องจากการจราจรหนาแน่น ขณะที่การก่อสร้างยังต้องดำเนินต่อไป โดยมีการรื้อย้ายอุโมงค์ส่งน้ำประปาขนาดใหญ่ของการประปานครหลวงที่เกาะกลางถนนให้พ้นจากแนวรถไฟฟ้า
ซึ่งเป็นโครงสร้างคล้ายเมื่อตอนก่อสร้าง BTS บนถนนสุขุมวิท จึงถือว่ามีประสบการณ์แล้วและจึงเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ นอกจากนี้ จุดที่น่าหนักใจอีกจุดหนึ่ง ได้แก่ ที่แยกสะพานบางกะปิ ข้างเดอะมอลล์บางกะปิ เนื่องจากแนวสะพานข้ามทางแยกอยู่ในแนวเดียวกับรถไฟฟ้า ดังนั้น จึงต้องหารือและประสานงานกับกรุงเทพมหานครในการรื้อย้ายสะพาน ข้ามทางแยกออกระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าจนเสร็จ จึงก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกคืน (เช่นเดียวกับที่แยกรัชโยธินของรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งรายละเอียดต่างๆยังอยู่ ข้อมูลข่าว : ไทยรัฐ ,ประชาชาติธุรกิจ  ม.ค. 61 

ตำแหน่งสถานีโดยสังเขป

เรียบเรียงโดย REALIST (ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) - คลิกที่สี่เหลี่ยมด้านซ้ายบนของแผนที่เพื่อเลือกตำแหน่งสถานี - แผนที่สามารถขยายได้เพื่อดูตำแหน่งโดยละเอียด - คลิก "Base Map / ฐานแผนที่" ด้านมุมซ้ายล่างเพื่อเปลี่ยน Map Background

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วง รัชดา - พหลโยธิน 24

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยายช่วงรัชดา - จันทรเกษม - พหลโยธิน 24 มีระยะทาง 2.6 กม. โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ - บมจ.ซิโน - ไทยฯ - บมจ.ราชกรุ๊ป) รับสัมปทาน 33 ปี เสนอลงทุนเพิ่ม วงเงิน 3,779 ล้านบาท โดยจะส่วนต่อขยายจะวิ่งบน ถ.รัชดาภิเษก เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และอาคารทางราชการหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, ศาลอาญา, ศาลอุทธรณ์, ศาลแพ่ง, ศาลแขวงพระนครเหนือ อีกทั้งสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการส่วนต่อขยายนี้ได้ในปี 2567

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วง ลาดพร้าว - สำโรง

ระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว ยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) บริเวณแยกพัฒนาการ วิ่งผ่านแยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30 กม. มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 23 สถานี

รายละเอียดโครงการ

เงินลงทุน 51,810 ล้านบาท 

– ค่าเวนคืนที่ดิน 6,013 ล้านบาท – ค่างานโยธา 23,206 ล้านบาท – ค่าระบบไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท

ความคืบหน้าในการดำเนินการ

- เบี่ยงช่องทางการจราจรบนถ.ลาดพร้าว

     การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. แจ้งว่า วันที่ 19 ม.ค. ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป จะเริ่มปิดเบี่ยงจราจร 24 ชม. เพื่อใช้ผิวจราจร โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยระยะแรกจะปิดเลนขาเข้า 2 จุด บนถ.ลาดพร้าว - จุดที่ 1 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 136 ถึง ซอยลาดพร้าว 134 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า มุ่งหน้าแยกรัชดา-ลาดพร้าว - จุดที่ 2 ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 45/1 ถึง ซอยลาดพร้าว 45 ปิด 1 ช่องทางขวา (ชิดเกาะกลาง) ขาเข้า  ข้อมูลข่าว : ไทยรัฐ 19 ม.ค. 61

- เบี่ยงช่องทางการจราจรบนถ.ศรีนครินทร์

     ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป ช่วงเวลา 22.00 - 04.00 น. ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง มีความจำเป็นต้องใช้ผิวจราจรบนถนนศรีนครินทร์ 2 ช่องทางขวา ชิดเกาะกลาง (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่บริเวณแยกสวนหลวง (ศรีนุช) ถึงบริเวณแยกพรีเมียร์ (ซ.ศรีนครินทร์ 57) เพื่อนำตัวกั้นถนน (Barrier) วางชิดเกาะกลาง จากบริเวณซอยศรีนครินทร์ 36 ถึงซอยศรีนครินทร์ 30 (ฝั่งขาเข้า) มุ่งหน้า แยกสวนหลวง (ศรีนุช) เป็นระยะทางประมาณ 180 ม. เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานเตรียมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค      ทั้งนี้หลังเวลา 04.00 น. สามารถใช้ผิวจราจรได้ตามปกติ ทั้งฝั่งขาเข้า และฝั่งขาออก ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวไม่กระทบต่อผิวจราจรแต่อย่างใด ข้อมูลข่าว : MRTA 31 พ.ค. 61
 

รายงานความก้าวหน้าดำเนินการก่อสร้างเดือนพฤษภาคม 2018

INFO :MRTA May 2018

อาคารจอดแล้วจร

มีอาคารจอดรถเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าศรีเอี่ยม จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณแขวงการทางสมุทรปราการ เป็นอาคาร 7 ชั้น สามารถจอดรถได้ประมาณ 3,000 คัน

ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)

ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์กับถ.บางนา-ตราด พื้นที่ประมาณ 112 ไร่ ประกอบด้วย -ศูนย์ควบคุมการเดินรถ -กลุ่มอาคารซ่อมบำรุง -สำนักงานบริหารและจัดการ -โรงจอดรถไฟฟ้า

ระบบโครงสร้าง (Park & Ride)

ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) จะมีความโปร่งกว่ารถไฟที่เป็น Heavy rail Info : MRTA  

รายชื่อสถานี 23 สถานี

- รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) - 23 สถานี ระยะทาง 30.4 กม. เป็นโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณทิศตะวันออกของทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม รวมถึงมีอาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ว่างของทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม - วงเงินลงทุนปัจจุบัน 51,810 ลบ. (03/2561) - มติเห็นชอบของคณะกรรมการ PPP อนุมัติให้เอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost - กำหนดสร้างเสร็จ 2563 Info : MRTA
 
สถานีภาวนา อยู่บน ถ.ลาดพร้าว ตั้งแต่ซอยลาดพร้าว 41 ถึง ซอยลาดพร้าว 41/1 ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
ลำดับการก่อสร้างในอาคาร จะเริ่มดำเนินการจาก ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ตู้จำหน่ายบัตรอัตโนมัติ ลิฟต์ บันได บันไดเลื่อน ประตูกั้นชานชาลา ตามลำดับ
 
สถานีบางกะปิ อยู่บน ถ.ลาดพร้าว บริเวณซอยลาดพร้าว 113 ถึง ซอยลาดพร้าว 115 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ส่วนลำดับการก่อสร้างภายในอาคาร จะเริ่มดำเนินการจาก ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ตู้จำหน่ายบัตรอัตโนมัติ ลิฟต์ บันได บันไดเลื่อน ประตูกั้นชานชาลา ตามลำดับ
 
สถานีแยกลำสาลี ตั้งอยู่บน ถ.ศรีนครินทร์ บริเวณแยกลำสาลี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจุดที่ 2 ของโครงการฯ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้
มีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด จุดที่ 1 บริเวณแยกลำสาลี ก่อนถึงร้านช่งกี่ประตูน้ำ ฝั่งขาออก จุดที่ 2 บริเวณธนาคารกรุงไทย (ลานจอดรถ) ฝั่งขาออก จุดที่ 3 บริเวณตรงข้ามธนาคารกรุงไทย ร้านน็อตแอนด์สกรู ฝั่งขาเข้า จุดที่ 4 บริเวณก่อนถึงแยกลำสาลี (หน้าตึกแถว ฝั่งขาเข้า) ฝั่งขาเข้า
ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยลำดับการก่อสร้างภายในจะเริ่มจาก ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ตู้จำหน่ายบัตรอัตโนมัติ ลิฟต์ บันได บันไดเลื่อน ประตูกั้นชานชาลา ตามลำดับ
 
สถานีกลันตัน ตั้งอยู่บน ถ.ศรีนครินทร์ บริเวณหน้าศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
ส่วนลำดับการก่อสร้างภายในอาคาร จะเริ่มดำเนินการจาก ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ตู้จำหน่ายบัตรอัตโนมัติ ลิฟต์ บันได บันไดเลื่อน ประตูกั้นชานชาลา
 
สถานีสวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่บน ถ.ศรีนครินทร์ บริเวณหน้าตลาดนัดรถไฟ (ซอยศรีนครินทร์ 51 - 53) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ส่วนลำดับการก่อสร้างภายในอาคาร จะเริ่มดำเนินการจาก ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ตู้จำหน่ายบัตรอัตโนมัติ ลิฟต์ บันได บันไดเลื่อน ประตูกั้นชานชาลา ตามลำดับ
 
สถานีศรีอุดม ตั้งอยู่บน ถ.ศรีนครินทร์ บริเวณแยกศรีอุดม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
เป็นสถานีแรกสำหรับแนวเส้นทางที่เบี่ยงซ้าย และดำเนินงานก่อสร้างบนพื้นที่ทางเท้าและพื้นที่เวนคืน เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงอุโมงค์ลอดทางแยกศรีอุดม ซึ่งยากต่อการดำเนินงานก่อสร้าง
ส่วนลำดับการก่อสร้างภายในอาคาร จะเริ่มดำเนินการจาก ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร ตู้จำหน่ายบัตรอัตโนมัติ ลิฟต์ บันได บันไดเลื่อน ประตูกั้นชานชาลา ตามลำดับ
 
สถานีศรีเอี่ยม ตั้งอยู่บน ถ.ศรีนครินทร์ บริเวณทางต่างระดับศรีเอี่ยม มีอาคารจอดแล้วเชื่อมต่อกันได้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
สำหรับทางขึ้น - ลง สถานี มีทั้งหมด 4 จุด ได้แก่
จุดที่ 1 บริเวณอาคารจอดแล้วจร (ฝั่งทิศเหนือ)
จุดที่ 2 บริเวณอาคารจอดแล้วจร (ฝั่งทิศใต้)
จุดที่ 3 บริเวณแยกถนนศรีนครินทร์ - ถนนเทพรัตน์
จุดที่ 4 บริเวณวัดศรีเอี่ยม
 
สถานีศรีเทพา ตั้งอยู่บน ถ.เทพารักษ์ บริเวณด้านหน้าหมู่บ้านธนเศรษฐ์แลนด์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
สถานีมีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 บริเวณก่อนถึงร้านแจ่วฮ้อน ร้อยเอ็ด ฝั่งขาออก จุดที่ 2 บริเวณถัดจากซอยอรรถสิทธิ์ ฝั่งขาออก จุดที่ 3 บริเวณพื้นที่ตรงข้ามซอยอรรถสิทธิ์ ฝั่งขาเข้า จุดที่ 4 บริเวณพื้นที่ถัดจากครัวอิ่มจัง ฝั่งขาเข้า
 
สถานีทิพวัล ตั้งอยู่บนถนนเทพารักษ์ บริเวณคลองมหาวงษ์ ใกล้กับหมู่บ้านทิพวัล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
สถานีมีตำแหน่งทางขึ้น - ลง จำนวน 4 จุด
จุดที่ 1 บริเวณก่อนถึงคลองมหาวงษ์ ฝั่งขาออก จุดที่ 2 บริเวณก่อนถึงซอยเข้าหมู่บ้านทิพวัล ฝั่งขาออก จุดที่ 3 บริเวณก่อนถึงบริษัท สยามร่วมกิจสหมิตร จำกัด ฝั่งขาเข้า จุดที่ 4 บริเวณพื้นที่บริษัท กระดาษธนธาร จำกัด ฝั่งขาเข้า
 
สถานีสำโรง ตั้งอยู่บนถนนเทพารักษ์ บริเวณแยกเทพารักษ์ สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ ได้ที่สถานีสำโรง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
 

สถานีศรีเอี่ยม อาคารซ่อมบำรุง และอาคารจอดและจร

- โครงสร้างยกระดับ และเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ที่มีสมรรถนะสูง - สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000 – 40,000 คน/ชม./ทิศทาง ด้วยความเร็ว 80 กม./ชั่วโมง - ตัวรถมีน้ำหนักเบาและใช้ล้อยาง ทำให้ลดผลกระทบทางด้านเสียงและความสั่นสะเทือน - โครงสร้างทางวิ่งโปร่ง ทำให้ลดผลกระทบเรื่องแสงและทัศนียภาพ รวมทั้งใช้พื้นที่ก่อสร้างน้อย - สามารถเลี้ยวด้วยรัศมีโค้งราบน้อยที่สุด 70 เมตร (Sharp Curve) ไต่ทางลาดชั่นได้สูงถึง 6 เปอร์เซ็นต์ (Steep Grade) ทำให้แนวเส้นทางมีความยืดหยุ่นและลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน Info : MRTA Blogspot
รายละเอียดตำแหน่งสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

วีดิทัศน์โครงการ

ที่มา : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย  

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 
 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon