realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

10 Nov 2022 367.8K

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

10 Nov 2022 367.8K
 

รถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งเส้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี เป็นรถไฟฟ้า Heavy Rail ที่วิ่งเชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของ กทม. โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์และสิ้นสุดที่สถานีแยกร่มเกล้า บริเวณสามแยกรามคำแหง – สุวินทวงศ์ ในบทความนี้จะมาพูดถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายตะวันออก ที่สร้างใกล้เสร็จเต็มที ซึ่งสายตะวันออกนี้ยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นอีก 3 สาย ได้แก่ สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เชื่อม สายสีน้ำเงิน สถานีแยกลำสาลี เชื่อม สายสีเหลือง และสถานีมีนบุรี เชื่อม สายสีชมพู
หากเปิดใช้บริการแล้ว จะทำให้สามารถเดินทางได้สะดวก ช่วยบรรเทาปัญหารถติดอีกทั้งยังวิ่งมาจากชานเมืองเชื่อมต่อกับสายสีชมพูและสายสีอื่นๆ สามารถเดินทางไปทำงานและเดินทางไปที่อื่นๆได้ง่าย เป็นการเพิ่มศักยภาพโครงข่ายรถไฟฟ้าในกทม.ให้ดีขึ้นไปอีก แล้วแต่ละสถานีตั้งอยู่ตรงไหน ใกล้ที่ไหนบ้าง ติดตามอ่านต่อได้เลย

รถไฟฟ้าสายสีส้มแบ่งเป็น  2 ช่วง

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทางรวม 35.9 กม. มีจำนวน 29 สถานี แบ่งออกเป็น 2 ช่วง 
  1. รฟฟ.สายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สถานีสุวินทวงศ์) ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2569
  2.  รฟฟ.สายสีส้ม ส่วนตะวันตก (ช่วงสถานีบางขุนนนท์-สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ตามแผนงานคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2572
 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม "ศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี(สุวินทวงศ์)"

OR13 - ศูนย์วัฒนธรรมฯ

OR13 - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ตั้งอยู่ใกล้ถนนรัชดาภิเษก บริเวณด้านหน้าห้างเอสพลานาด รัชดาภิเษก เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ทางขึ้นลง 2 ทาง อยู่ภายในศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

OR14 - รฟม.

OR14 - รฟม.
ตั้งอยู่ใกล้ถนนพระราม 9 หน้าบริเวณประตูทางเข้าด้านหน้าพื้นที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ทางขึ้นลง 4 ทาง โดย 2 ทาง อยู่ด้าน รฟม. และอีก 2 ทาง ใกล้อาคาร KSP

OR15 - วัดพระราม 9

OR15 - วัดพระราม 9
ตั้งอยู่ใกล้บริเวณสี่แยกถนนประดิษฐ์มนูธรรมตัดกับถนนพระราม 9 ถึงทางเข้าวัดพระราม 9
ทางขึ้นลง 4 ทาง ได้แก่ ระหว่างพระราม 9 ซอย 19 และ 21, ระหว่างพระราม 9 ซอย 21 และแยกวัดพระราม 9, สวนพรรณภิรมย์ ใกล้แยกพระราม 9 และใกล้คอนโด I-House

OR16 - รามคำแหง 12

OR16 - รามคำแหง 12
ตั้งอยู่ใกล้บริเวณหน้าห้างเดอะมอลล์ รามคำแหง
ทางขึ้นลงอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า ซ.รามคำแหง 13 และ 17 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 8 และ 12

OR17 - รามคำแหง

OR17 - รามคำแหง
ตั้งอยู่ใต้พื้นที่ลานด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง บริเวณประตูใหญ่ของมหาวิทยาลัย
ทางขึ้นลงอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า ซ.รามคำแหง 51/1 และ 51/2 และตั้งอยู่ระหว่าง ซ.รามคำแหง 43 และ 43/1 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง

OR18 - กกท.

OR18 - กกท.
ตั้งอยู่ใกล้ถนนรามคำแหง หน้าสนามกีฬาหัวหมาก
ทางขึ้นลงอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า ซ.รามคำแหง 69 และ 69/1 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณหน้า กกท. และใกล้ สน.รามคำแหง

OR19 - รามคำแหง 34

OR19 - รามคำแหง 34
ตั้งอยู่ระหว่างซ.รามคำแหง 36 ถึง 40
ทางขึ้นลงอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า โรงแรมอเล็กซานเดอร์ และ ซ.รามคำแหง 83 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณหน้า ซ.รามคำแหง 36/1 และ 40

OR20 - แยกลำสาลี

OR20 - แยกลำสาลี
ตั้งอยู่ใกล้สี่แยก ซ.รามคำแหง 58/3
ทางขึ้นลงมี 6 ทาง ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณข้างคลองโต๊ะยอ ช่วง ซ.รามคำแหง 97 และอยู่ซ.รามคำแหง 91/1 และ 93 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณหน้า ซ.รามคำแหง 58/2 และ 58/3 ซ.รามคำแหง 56-58 และตรงถ.ศรีนครินทร์ ใกล้ ซ.รามคำแหง 54

OR21 - ศรีบูรพา

OR21 - ศรีบูรพา
ตั้งอยู่ใกล้สามแยก หน้าโชว์รูม Isuzu
ทางขึ้นลงมี 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณทางเข้า-ออก Big C และ ใกล้แยกบ้านม้า รามคำแหงฝั่งขาออก ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่ตรงข้าม Big C และ บริเวณ ซ.รามคำแหง 70

OR22 - คลองบ้านม้า

OR22 - คลองบ้านม้า
ตั้งอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 90 - 100 หรือหน้าหมู่บ้าน เดอะพาซิโอ ทาวน์ รามคำแหง
ทางขึ้นลงมี 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 127/4 และใกล้ลานจอดรถของ เดอะพาซิโอ ทาวน์ รามคำแหง ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่หน้า ซ.รามคำแหง 90-92 และ 96

OR23 - สัมมากร

OR23 - สัมมากร
ตั้งอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 112 ถึงคลองสะพานสูง หรือหน้าหมู่บ้านสัมมากร
ทางขึ้นลงมี 2 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 131 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่หน้า ซ.รามคำแหง 112/1

OR24 - น้อมเกล้า

OR24 - น้อมเกล้า
ตั้งอยู่บน ถ.รามคำแหง หน้า รร.เตรียมอุดมศึกษานอมเกล้า ถึง ซ.รามคำแหง 144
ทางขึ้นลงมี 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ อยู่ติดศูนย์บริการ Honda และ ซ.รามคำแหง 155/3 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่หน้า ซ.รามคำแหง 144 และติดกับ รร.เตรียมอุดมศึกษานอมเกล้า

OR25 - ราษฎร์พัฒนา

OR25 - ราษฎร์พัฒนา
ตั้งอยู่บน ถ.รามคำแหง บริเวณแยกถนนราษฎร์พัฒนา
ทางขึ้นลงมี 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่อยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 161/1 และ 161/2 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่หน้า ซ.รามคำแหง 158 และ 161/1

OR26 - มีนพัฒนา

OR26 - มีนพัฒนา
ตั้งอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 64 หรือปั้มนำมันบางจาก ถึง ซ.รามคำแหง 66
ทางขึ้นลงมี 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่อยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 187 และ 185 - 187 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่หน้า ซ.รามคำแหง 166 และ บ.บันไซ จำกัด

OR27 - เคหะรามคำแหง

OR27 - เคหะรามคำแหง
ตั้งอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 184 - 186
ทางขึ้นลงมี 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่อยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 199 - 201 และ 201 - 203 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่หน้า ซ.รามคำแหง 184 และ 186

OR28 - มีนบุรี

OR28 - มีนบุรี
ตั้งอยู่บริเวณ ซ.รามคำแหง 192 ใกล้ศูนย์ซ่อมบำรุงของ รฟฟ.สายสีชมพู
ทางขึ้นลงมี 2 ทางอยู่ใต้สถานี

OR29 - แยกร่มเกล้า

OR29 - แยกร่มเกล้า
ตั้งอยู่บริเวณข้างสะพานข้ามสามแยกร่มเกล้า
ทางขึ้นลงมี 2 ด้านอยู่ใต้สถานี
 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง "ตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรมฯ"

OR1 - ตลิ่งชัน

OR1 - ตลิ่งชัน
ตั้งอยู่ใต้ลานจอดรถบริเวณสถานีรถไฟตลิ่งชัน เป็นสถานี เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแแดง ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช (สถานีตลิ่งชัน)
ทางขึ้นลง 2 จุด
  • ด้านบนสถานี ริมรางรถไฟทิศใต้
  • ด้านบนสถานี ริมรางรถไฟทิศใต้
 

OR2 - บางขุนนนท์

OR2 - บางขุนนนท์
ตั้งอยู่ใต้ ถ.เลียบรถไฟ บริเวณตัดกับ ถ.จรัญสนิทวงศ์ เป็นสถานีเชื่อมต้อกับรฟฟ.สายสีน้ำเงิน ช่วง บางซื่อ - ท่าพระ (สถานีบางบุขนนนท์) และรฟฟ.สายสีแดงอ่อน สถานีจรัญสนิทวงศ์
ทางขึ้นลง 4 จุด
  • ริมถ.จรัญสนิทวงศ์ ทิศเหนือ
  • ริมถ.จรัญสนิทวงศ์ ทิศใต้
  • ริมถ.วัดสุทธาวาส ทิศใต้
  • ริมถ.วัดสุทธาวาส ทิศใต้
 

OR3 - ศิริราช

OR3 - ศิริราช
ตั้งอยู่ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ บริเวณรพ.ศิริราช เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรฟฟ.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช (สถานีธนบุรี - ศิริราช)
ทางขึ้นลง 3 จุด
  • หน้าอาคารรพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  • ข้างตลาดศาลาน้ำร้อนจุดที่ 1 
  • ข้างตลาดศาลาน้ำร้อนจุดที่ 2
 

OR4 - สนามหลวง

OR4 - สนามหลวง
ตั้งอยู่ใต้ ถ.ราชินี บริเวณด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ และสถาบันบัณฑิตนศิลป์
ทางขึ้นลง 3 จุด
  • ถ.เจ้าฟ้าบริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์
  • ถ.หน้าพระธาตุบริเวณทางเท้าริมสนามหลวง
  • พื้นทีข้างสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กทม. ริมเจ้าพระยา
 

OR5 - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

OR5 - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ตั้งอยู่ใต้ถ.ราชดำเนินกลาง บริเวณด้านตะวันออกของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านหน้าลานพลับพลามหาเจษษฎาบดินทร์ เป็นสถานีเชื่อมต่อรฟฟ.สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สถานีผ่านฟ้า
ทางขึ้นลง 4 จุด (จุดที่ 5, 6 สำหรับอนาคต)
  • ลานจอดรถบริษัทเทเวศประกันภัย
  • ริมถ.หน้าตึกนิทรรศการรัตนโกสินทร์
  • หน้าตึกริมถ.ราชดำเนินกลาง ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • หน้าตึกริมถ.ราชดำเนินกลาง ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • หน้าตึกหน้าร้านแมคโดนัล
  • หน้าตึกบริษัท เมืองโบราณ จำกัด ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
 

OR6 - หลานหลวง

OR6 - หลานหลวง
ตั้งอยู่ใต้ ถ.หลานหลวง บริเวณแยกหลานหลวง
ทางขึ้นลง 4 จุด
  • ริมถ.ใกล้โชว์รูม โตโยต้า
  • ริมถ.ใกล้แยกหลวงหลวงฝั่งซ้าย
  • ริมถ.ใกล้แยกหลวงหลวงฝั่งขวา
  • ริมถ.ตรงข้ามโชว์รูม โตโยต้า
 

OR7 - ยมราช

OR7 - ยมราช
ตั้งอยู่ใต้ ถ.หลานหลวง บริเวณด้านหน้าบ้านมังคศิลา
ทางขึ้นลง 6 จุด
  • บริเวณด้านข้างรพ.มิชชั่น มุมแยกยมราช
  • ริมถ.หลานหลวง ข้างบ้านมังคศิลา
  • ริมถ.หลานหลวง ข้างตลาดสินทรัพย์พัฒนา
  • ริมถ.หลานหลวง ติดคลองผดุงกรุงเกษมด้านทิศใต้
  • ริมถ.หลานหลวง ติดคลองผดุงกรุงเกษมด้านทิศเหนือ
 

OR8 - ราชเทวี

OR8 - ราชเทวี
ตั้งอยู่ใต้ ถ.เพชรบุรี บริเวณซอยเพชรบุรี 5 ก่อนขึ้นสะพานข้ามแยกราชเทวี เป็นสถานีเชื่อมต่อรฟฟ.สายสีเขียว สถานีราชเทวี
ทางขึ้นลง 6 จุด
  • ริมถ.เพชรบุรี ใกล้แยกราชเทวี
  • ริมถ.เพชรบุรี ปากซอย 14
  • ริมถ.เพชรบุรี ด้านทิศใต้
  • ริมถ.เพชรบุรี ด้านทิศเหนือ
  • ริมถ.พญาไท เชื่อม BTS ด้านทิศตะวันตก
  • ริมถ.พญาไท เชื่อม BTS ด้านทิศตะวันออก
 

OR9 - ประตูน้ำ

OR9 - ประตูน้ำ
ตั้งอยู่ใต้ ถ.เพชรบุรี บริเวณด้านหน้าห้าง AEC Trade Center หรือห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า (เดิม)
ทางขึ้นลง 5 จุด
  • บริเวณเพชรบุรี ซอย 17
  • หน้าห้าง AEC Trade Center บริเวณเพชรบุรี ซอย 22
  • บริเวณเพชรบุรี ซอย 20
  • บริเวณทางเข้า รร.กรุงเทพบัญชีการพาณิชยการ
  • บริเวณเพชรบุรี ซอย 13
 

OR10 - ราชปรารถ

OR10 - ราชปรารภ
ตั้งอยู่ใต้ ถ.ราชปรารภ บริเวณสี่แยกหมอเหล็ง ถีงแยกปากซอยรางน้ำ เป็นสถานีเชื่อมต่อกับ Airport Rail Link
ทางขึ้นลง 5 จุด
  • ริมถ.ราชปรารภ ในปั้มน้ำมันคาร์เทค ปากซอยรางน้ำ
  • ริมถ.ราชปรารภ ในปั้มน้ำมันคาร์เทค ปากซอยเวียงฟ้า
  • ริมถ.ราชปรารภ ในปั้มน้ำมันคาร์เทค ปากซอยทางเข้ามหานครยิปซั่ม
  • เชื่อมต่อสถานีราชปรารภ ของ Airport Rail Link ทิศใต้
  • เชื่อมต่อสถานีราชปรารภ ของ Airport Rail Link ทิศเหนือ
 

OR11 - ดินแดง

OR11 - ดินแดง
ตั้งอยู่ใต้ ถ.วิภาวดีรังสิต ฝั่งขาเข้า บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง)
ทางขึ้นลง 4 จุด
  • ริมถ.วิภาวดี-รังสิต หน้ารพ.ทหารผ่านศึก
  • ริมถ.วิภาวดี-รังสิต หน้าสวนวิภาวดีรังสิต ด้านตะวันออก
  • ริมถ.วิภาวดี-รังสิต หน้าสวนวิภาวดีรังสิต ด้านตะวันตก
  • ริมถ.วิภาวดี-รังสิต หน้ารร.ดุริยางค์ทหารบก
 

OR12 - ประชาสงเคราะห์

OR12 - ประชาสงเคราะห์
ตั้งอยู่ใต้พื้นที่เดิมของรร.ดรุณพิทยา (ปิดกิจการ) ริมถ.ประชาสงเคราะห์
ทางขึ้นลง 2 จุด
  • บนสถานีด้านทิศเหนือ
  • บนสถานีด้านทิศใต้
 
Image : MRTA Orange Line รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อย แล้วลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่าในเขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญเช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาค เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวี ประตูน้ำ ดินแดง ไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์ ถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนรามคำแหง บางกะปิ สะพานสูง มาสิ้นสุดเส้นทางที่เขตมีนบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ มีระยะทางรวม 39.6 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 30.6 กม. และเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9 กม. มีสถานีทั้งสิ้น 29 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 23 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

เส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด

 เริ่มต้นจากที่สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน จากนั้นวิ่งผ่านสถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดี-รังสิต และเลี้ยวขวาลอดโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ และทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษภ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ทางยกระดับตั้งแต่สถานีสัมมากร-สุวินทวงศ์

เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นวิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนพระราม 9 ที่บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง หลังจากนั้นจะเป็นสถานียกระดับตามแนวถนนรามคำแหง เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลีซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีบ้านม้า ผ่านหมู่บ้านสัมมากร ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาวจุดตัดถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีมีนบุรี บริเวณก่อนถึงแยกรามคำแหง-ร่มเกล้าซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับเส้นทางส่วนนี้ร่วมกับสายสีชมพู รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กม.

รถไฟฟ้าสายสีส้มเตรียมสร้าง เซ็นสัญญากับผู้รับเหมาครบแล้ว 6 สัญญา

  สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น จะแบ่งออกเป็น 6 สัญญา รวมค่าก่อสร้าง 79,221 ล้านบาท ประกอบด้วย เมื่อต้นเดือน พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา ล่าสุดผู้รับเหมางานโยธา 5 สัญญากำลังเจาะสำรวจพื้นที่ คาดว่าใช้เวลาก่อส้ราง 5 ปี เสร็จปี 2566   สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง 12 ระยะทาง 6.29 กม. มี 3 สถานี ราคากลาง 20,633 ลบ. สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก ระยะทาง 3.44 กม. จำนวน 4 สถานี ราคากลาง 21,057 ลบ.
  สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ระยะทาง 4.04 กม. จำนวน 3 สถานี ราคากลาง 18,570 ลบ.   สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วงคลองบ้านมา-สุวินทวงศ์ ระยะทาง 8.80 กม. จำนวน 7 สถานี ราคากลาง 9,990 ลบ.   สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดและจร วงเงิน 4,831 ลบ.   สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบราง ระยะทาง 22.50 กม. ราคากลาง 3,624 ลบ. ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ มิ.ย. 2560

งบประมาณอัพเดทจาก MRTA มี.ค. 61

วงเงินลงทุนปัจจุบัน (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 9,625 ลบ. ค่าก่อสร้างงานโยธา 82,907 ลบ. ค่างานระบบรถไฟฟ้า 15,008 ลบ. รวม 107,540 ลบ.
วงเงินลงทุนปัจจุบัน (ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2,951 ลบ. ค่าก่อสร้างงานโยธา 64,087 ลบ. ค่างานระบบรถไฟฟ้า 18,250 ลบ. รวม 85,288 ลบ.
อัพเดทงานก่อสร้าง เริ่มลงเหล็กสำหรับทำกำแพงกันดิน D-Wall ของตัวสถานีหัวหมาก บริเวณซอยรามคำแหง 36 – 40 (มี.ค.2561)
จุดกลับรถชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค. 2561 เป็นต้นไป บริเวณซ.รามคำแหง 108 (ขาเข้า) และ ซ.รามคำแหง 129/4 (ขาออก) และเบี่ยงจราจรเพิ่มเติม บริเวณซ.รามคำแหง 102 – 108 (ขาเข้า) และซ.รามคำแหง 129/1 – 129/3 (ขาออก) 
ทางเบี่ยงแยกบ้านม้า และบริเวณซ.รามคำแหง 76-78 เดือน มี.ค. 2561 เป็นต้นไป
ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 61 เป็นต้นไป เบี่ยงเส้นทางจราจรบนถ.รามคำแหง บริเวณแยกบ้านม้า เหลือฝั่งละ 2 เลน เพื่อก่อสร้างสถานีใต้ดินศรีบูรพา
วันที่ 18 มี.ค. 61 -31 พ.ค. 61 เบียงทางจราจรบนถ.รามคำแหง บริเวณซ.รามคำแหง 76-78 เหลือช่องทางจราจรฝั่งละ 2 เลน
ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางฯ ได้กำหนดให้โครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นระบบขนส่งมวลชนสายหลักที่เชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร และผลการศึกษาทบทวนความเหมาะสมและแนวเส้นทางของโครงการ โดยเป็นความเห็นร่วมกันของ สนข. และ รฟม. กำหนดให้จุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สถานีบางขุนนนท์ โดยเชื่อมต่อกับเส้นทางจากระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงที่บริเวณสถานีบางขุนนนท์ จากนั้นใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนิน แล้วเบี่ยงใช้ใต้ถนนหลานหลวง ผ่านแยกยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จากนั้นเลี้ยวขวาผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับ โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม แล้วเบี่ยงเข้าแนว แล้วเบี่ยงเข้าแนว ถนนพระราม 9 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ถนนกาญจนาภิเษกตัดกับถนนร่มเกล้าเขตมีนบุรี สิ้นสุดที่ทางแยกถนนสุวินทวงศ์

มีระยะทางรวม 39.6 กม. เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 30.6 กม. และเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.0 กม. มีสถานีทั้งสิ้น 30 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 23 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

  • ทางวิ่งใต้ดินทั้งหมด 23 สถานี เป็นอุโมงค์คู่ ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยว และเป็นสถานียกระดับ 7 สถานี
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard gauge) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสาร

รูปแบบสถานี

สถานียกระดับ

สถานียกระดับ เป็นโครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ หลังคาโครงเหล็ก มีพื้นที่ใช้งานทั้งหมด 3 ชั้น คือ ชั้น At grade, Concourse และ Platform ตามลำดับ ใช้ระบบทางเข้าชานชาลา ระบบ AFC Gate สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 25 เมตร มีทางขึ้นทั้งหมด 4 ทาง แและมีลิฟท์ขึ้นสู่ชั้น Concourse 2 ตัว มีทั้งแบบ Central Platform และ Side Platform

สถานีใต้ดิน

สถานีใต้ดินยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ส่วนสถานียกระดับยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูชานชาลาความสูงแบบ Half-Height มีทั้งแบบ Central Platform และ Side Platform  
รถไฟฟ้าสายสีส้มมีอาคารซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถไว้ไว้บริการดังนี้ เส้นทางช่วงบางขุนนนท์-บางกะปิใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ รฟม. พระราม 9 (ที่ทำการ กิจการรถไฟฟ้า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับรถไฟฟ้าสายมหานคร สายเฉลิมรัชมงคลส่วนเส้นทางช่วงบางกะปิ-มีนบุรีใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และอาคารจอดแล้วจรไว้บริการบริเวณสถานีคลองบ้านม้า

อาคารจอดแล้วจร

ในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง ดังนี้ 1. อาคารจอดรถสถานีคลองบ้านม้า เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,200 คัน 2. อาคารจอดรถสถานีมีนบุรี เป็นของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสชมพูกับสีส้ม เป็นคาร 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน

ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (Depot)

ศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 155 ไร่ ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย พระราม 9 ประกอบด้วยกลุ่มอาคารที่สำคัญดังนี้ 1. ศูนย์ควบคุมการเดินรถ (Operation Control Center) 2. กลุ่มอาคารซ่อมบำรุง ( Main Workshop) 3. สำนักงานบริหารและจัดการ (Administrator Office) 4. รางทดสอบ (Test Track) 5. โรงจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard)
 

สถานีบางขุนนนท์

ตั้งอยู่ใต้ถนนเลียบทางรถไฟ บริเวณตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

สถานีศิริราช

ตั้งอยู่ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ บริเวณใกล้โรงพยาบาลศิริราช

สถานีสนามหลวง

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชินี บริเวณด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ

สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณด้านตะวันออกของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

สถานีหลานหลวง

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชินี บริเวณด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ

สถานียมราช

ตั้งอยู่ใต้ถนนหลานหลวง บริเวณบ้านมนังคศิลาเป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง

สถานีราชเทวี

ตั้งอยู่ใต้ถนนเพชรบุรี บริเวณซอยเพชรบุรี 3-7 ก่อนขึ้นสะพานข้ามแยกราชเทวีเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS สถานีราชเทวี

สถานีประตูน้ำ

ตั้งอยู่ใต้ถนนเพชรบุรี บริเวณด้านหน้าห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า

สถานีราชปรารภ

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชปรารภบริเวณด้านหน้าห้างอินทรา แควร์ เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ สถานีราชปรารภ

สถานีรางน้ำ

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชปรารภ บริเวณด้านหน้าปากซอยรางน้ำตัดกับถนนราชปรารภ

สถานีดินแดง

ตั้งอยู่ใต้ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาเข้า บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2

สถานีประชาสงเคราะห์

ตั้งอยู่ใต้พื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาศูนย์การศึกษาดรุณพิทยาหรือโรงเรียนดรุณพิทยา ปัจจุบันปิดดำเนินการแล้ว

สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ตั้งอยู่ใกล้ถนนรัชดาภิเษก บริเวณด้านหน้าห้างเอสพลานาด รัชดา เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายรัชมงคล

สถานี รฟม.

ตั้งอยู่ใต้พื้นที่ของ รฟม. บริเวณประตู 1 ถนนพระราม 9

สถานีประดิษฐ์มนูธรรม

ตั้งอยู่ใต้ถนนพระรามเก้า บริเวณใกล้สี่แยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรมหน้าปากซอยเข้าวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก

สถานีรามคำแหง 12

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์สาขารามคำแหง

สถานีรามคำแหง

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถานีราชมังคลา

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้าสนามกีฬาราชมังคลา

สถานีหัวหมาก

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้งโรงพยาบาลรามคำแหง

สถานีลำสาลี

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านใต้แยกลำสาลี เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง สถานีลำสาลี

สถานีศรีบูรพา

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหงตัดถนนศรีบูรพาหรือด้านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3

สถานีคลองบ้านม้า

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณระหว่างซอยรามคำแหง 92-94 และมีอาคารจอดแล้วจร ฝั่งขาเข้าติดกับสถานี

สถานีสัมมากร

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร

สถานีน้อมเกล้า

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

สถานีราษฏร์พัฒนา

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหง-ราษฏร์พัฒนาด้านหน้าสำนักงานใหญ่บริษัทมิสทีน

สถานีมีนพัฒนา

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าทางเข้าวัดบางเพ็ญใต้ ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมบางขัน

สถานีเคหะรามคำแหง

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะรามคำแหง

สถานีมีนบุรี

ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น เป็นสถานีสำหรับเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ชวงแคราย-มีนบุรี สถานีมีนบุรี

สถานีสุวินทวงศ์

ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณใกล้แยกสุวินทวงศ์ Image : MRTA Orange Line
 

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon