realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

สนามบินอู่ตะเภา ดีไซน์ใหม่ล่าสุด! เมืองการบินภาคตะวันออก สนามบินที่ 3 ใกล้กรุงเทพฯ

07 Dec 2023 63.1K

สนามบินอู่ตะเภา ดีไซน์ใหม่ล่าสุด! เมืองการบินภาคตะวันออก สนามบินที่ 3 ใกล้กรุงเทพฯ

07 Dec 2023 63.1K
 

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (EEC) เป็นโครงการพัฒนาภายในพื้นที่กว่า 6,500 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ใน ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
เพื่อเป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภาให้เป็น ‘สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3’ เชื่อมต่อจากสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทำให้ทั้ง 3 สนามบิน รวมกันจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปีเลยทีเดียว
ปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภาส่วนที่ใช้อยู่ประกอบด้วย ทางวิ่งที่ 1 อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศได้ประมาณ 7 แสนคน/ปี และอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 1.5 ล้านคน/ปี
นอกจากนี้โครงการก็จะทำให้เกิดศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของ “มหานครการบินภาคตะวันออก”
ล่าสุด เว็บไซต์ ของ UTA (https://www.uta.co.th) เปิดภาพและแผนแม่บทโดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซน ดังนี้
  1. Airport Terminal
  2. Airport City
  3. Airport Cargo & Logistics
มีการแบ่งการพัฒนาเป็น 6 ระยะ ตั้งเป้าให้อาคารผู้โดยสารแห่งใหม่รองรับผู้โดยสารสูงสุดไม่ต่ำกว่า 60 ล้านคน/ปี ปัจจุบันการลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ของบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) ถือว่าล่าช้าไปอีกร่วม 1 ปี 
จากเดิมรัฐต้องส่งหนังสือแจ้งให้ UTA เริ่มงาน (Notice to Process: NTP) ตั้งแต่เดือน ม.ค.ปี 2566 ส่งผลให้ไทม์ไลน์ล่าสุด UTA คาดว่าในปี 2567 จะได้เห็นการเริ่มตอกเสาเข็มก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาเฟส 1 และเป้าหมายคาดว่าจะแล้วเสร็จ ปี 2571

คาดเปิดใช้งานสนามบินอู่ตะเภา ปี 2571

2563
  • ผลประมูลอย่างเป็นทางการ บีบีเอส เป็นผู้ยื่นข้อเสนอและผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่รัฐ
  • เซ็นสัญญาร่วมลงทุน
2564
  • Master Plan Submission ส่งแบบและแก้ไขงานออกแบบ
2565
  • สกพอ. แจ้งเริ่มสิทธิ์ร่วมลงทุนแก่ UTA
  • ครม.อนุมัติ เป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเขตการค้าเสรี
2566 
  • เตรียมเคลียร์พื้นที่
  • มีการลงนามข้อตกลงแผนประสานงานร่วมระหว่าง โครงการ สนามบินอู่ตะเภา และ โครงการรถไฟความเร็สูง
2567
  • เริ่มการก่อสร้างและนับระยะเวลาโครงการ
2568
  • ระบบสาธารณูปโภคแล้วเสร็จ
2571 
  • เป้าหมายเปิดให้บริการสนามบิน

พัฒนาสู่เมืองการบินภาคตะวันออก

แผนงานการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ของ UTA จะลงทุน  ใน 5 ส่วนหลัก ได้แก่
  • อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 อาคารเทียบเครื่องบินรอง
  • ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ (Cargo Logistic Center) เพื่อตอบโจทย์การขนส่งสินค้าในภูมิภาคโดยเป็นศูนย์รวมและกระจายของขนส่ง 4 โหมดครบวงจร ทั้งทางอากาศ ทางราง ทางถนน และทางนํ้า หรือ Multimodel Transport
  • เขตประกอบการค้าเสรี
  • ศูนย์การขนส่งภาคพื้น
  • ศูนย์ธุรกิจการค้า

เมืองการบิน 1,000 ไร่ 14 โซน

เมืองการบินพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ 
  • ระบบในเมืองจะขับเคลื่อนด้วยระบบอัจฉริยะและเทคโนโลยี
  • ศูนย์รวมด้านความบันเทิง กีฬา ระบบเมืองและขนส่งยุคอนาคต
  • รองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์อัตโนมัติ และอากาศยานไร้คนขับ
มี 14 โซน ประกอบด้วย
  1. ห้างสรรพสินค้า : 41 ไร่ 
  2. โรงแรมระดับ 3 ดาว : 15 ไร่ 
  3. โรงแรมระดับ 4 ดาว : 26 ไร่ 
  4. โรงแรมระดับ 5 ดาว : 78 ไร่ 
  5. ที่พักผ่อนแบบผสมผสาน : 30 ไร่ 
  6. ที่อยู่อาศัยมิกซ์ยูส : 97 ไร่ 
  7. คอมมิวนิตี้ฮับ : 49 ไร่ 
  8. ย่านศิลปะ : 13 ไร่ 
  9. พิพิธภัณฑ์ศิลปะ : 6 ไร่ 
  10. ร้านอาหารริมน้ำ : 8 ไร่ 
  11. ที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัว : 37 ไร่ 
  12. ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ : 147 ไร่ 
  13. พื้นที่ใช้งานแบบผสมผสาน : 15 ไร่ 
  14. พื้นที่เกาะ : 6 ไร่ 

ภาพจำลองบรรยากาศเมืองการบิน

 
 

Terminal ใหม่หลังที่ 3 รองรับสูงสุด 60 ล้านคน/ปี

สำหรับแผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก UTA ได้จัดทำแผนการพัฒนาโครงการ แบ่งออกเป็น 6 ระยะ ดังนี้
  • ระยะที่ 1 และ 2 : สร้างอาคารผู้โดยสารหลักแห่งใหม่ (Terminal 3) พื้นที่ 157,000 ตร.ม. รองรับผู้โดยสาร 12 - 15.9 ล้านคน/ปี
  • ระยะที่ 3 และ 4 : ขยายอาคารผู้โดยสารหลักเป็น 264,000 ตร.ม. รองรับผู้โดยสาร 22.4 - 30 ล้านคน/ปี
  • ระยะที่ 5 : ขยายอาคารผู้โดยสารหลักเป็น 371,000 ตร.ม. รองรับผู้โดยสาร 45 ล้านคน/ปี
  • ระยะที่ 6 : สร้างอาคารผู้โดยสารกองกลางใหม่ 82,000 ตร.ม. รองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน/ปี

ภาพจำลองบรรยากาศอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3

 
 

ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์กว่า 300 ไร่

EEC ได้วางยุทธศาสตร์ ให้ทำภารกิจสาคัญ 3 ประการ คือ
  1. เป็น “สนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3" เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง
  2. เป็น “ศูนย์กลางอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation" ของอีอีซี
  3. เป็น “เมืองท่าที่สำคัญ" เชื่อมโยงขยายกรุงเทพไปทางตะวันออก ทั้งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ
 

Update ภาพสนามบินอู่ตะเภาล่าสุด (มิถุนายน 2560) 

Update วิดีโอสนามบินอู่ตะเภาล่าสุด (มิถุนายน 2560) 

. .
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development หรือ EEC) เป็นโครงการที่จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน, รถไฟ, ท่าเรือ และสนามบิน เพื่อพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดนักลงทุนและส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่นี้ เพิ่มศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และการพัฒนาเมือง โดยมีจังหวัดในภาคตะวันออกที่อยู่ในการพัฒนา คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ล่าสุดมีความเห็นชอบโครงการภายใต้แผนงานพัฒนา (พ.ศ. 2560-2564) ที่ต้องเร่งดำเนินการในปี 2560 จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 6,992.67 ลบ. โดยให้ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป ซึ่งในตอนนี้กำลังเร่งศึกษาแผนพัฒนาดังนี้ พัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบเป็น จุดจอดเรือยอชต์, ขยายท่าเรือแหลมฉบัง - ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด, เร่งปรับท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นสนามบินร่วมระหว่างพลเรือนและทหาร และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ใน Blog นี้ ทาง Realist จึงได้รวบรวมแผนการพัฒนาและข่าวอัพเดทของการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภามาให้ชมกันก่อนนะครับ โดยตามแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ส่วนของท่าอากาศยานอู่ตะเภา ประจำปี 2560-2564 มีแผนการพัฒนาที่ต่อจากการพัฒนาในปัจจุบันที่กำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่งมีแผนพัฒนาคร่าวๆดังนี้
ข้อมูล : นโยบายกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2560 : คลอดแผน 4 ปี “ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก” บิ๊กตู่ ย้ำ 1-3 ปีต้องเกิด ดัน 48 โครงการ 6.9 พัน ลบ. (ผู้จัดการ 17 พ.ย. 59)
  • ระยะที่ 1
• โครงการในสนามบินอู่ตะเภา (Aviation Hub) ระยะแรก-ศึกษาความเหมาะสม และ EIA/EHIA (ภาพรวมการพัฒนาสนามบิน และรายกิจกรรมสำคัญ) • ติดตั้งระบบ IT กล้องวงจรปิด เครื่อง X-Ray และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 • ก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากรด้านการบิน
  • ระยะที่ 2
• ก่อสร้าง High Speed Taxiway และ Taxiway • ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 (รองรับอากาศยาน Code 4F /การขนส่งทางอากาศ/ อุตสาหกรรมการบิน/ MRO และท่องเที่ยว) • ก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO (Commercial Airplane และ Private Jet/Helicopter / 2Hangars / 72 aircraft (144engines)) • ก่อสร้างศูนย์ขนส่งทางอากาศ Air Cargo
  • ระยะที่ 3
• ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคน/ปี) • ก่อสร้าง Commercial Gateway (headquarter/ Technology/ Research/ Recreation Center) • พัฒนาพื้นที่ Free trade zone และ Medical Hub
 

อู่ตะเภา TIMELINE

  • 2504 - เริ่มโครงการสนามบินอู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานภายใต้การดูแลของกองทัพเรือไทย ตั้งอยู่ใน จ. ระยอง
  • 2508 - คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภา เพื่อเป็นหน่วยในการลำเลียงหน่วยรบไปยังจุดต่างๆภายในประเทศ การก่อสร้างใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยใช้ชื่อว่า "สนามบินอู่ตะเภา"
  • 2519 - กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทหารออก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ และเป็นสนามบินสำรองของท่าอากาศยานดอนเมือง
ต่อมาพัฒนาเป็นท่าอากาศยานสากล โดยใช้ชื่อว่า "สนามบินนานาชาติระยอง-อู่ตะเภา" ภายใต้สังกัดของกองทัพเรือ มีการใช้งานด้านการทหาร และศูนย์ซ่อมบำรุงของบริษัทการบินไทยเป็นหลัก
  • 2551 - แต่หลังจากเหตุการณ์ทางการเมือง และน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ รัฐบาลมีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินสำรองของกรุงเทพ โดยมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ ขนาดรองรับผู้โดยสาร 3 ล้านคนต่อปี มาตั้งแต่ปี 2554
  • 2558 - ล่าสุด 3 มิ.ย. 2558 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ แห่งที่ 3 ซึ่งมีแผนพัฒนาต่างๆเกิดขึ้นมาในอนาคต
จากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา โดยผลักดันให้เป็นทั้งท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ และเป็นนิคมอุตสาหกรรมการบิน รวมถึงขยายการรองรับการเติบโตของการขนส่งทุกรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนา สำหรับการขยายตัวของของสนามบินอู่ตะเภา ขณะนี้ได้กันพื้นที่ไว้ร่วม 2,000 ไร่ สำหรับรองรับการขยายการลงทุนของสนามบิน ทั้งของภาครัฐ (กองทัพเรือ, กระทรวงคมนาคม) และ ภาคเอกชน (เช่น การบินไทย เป็นต้น) ที่จะเกิดขึ้นภายในสนามบิน รวมมูลค่าการลงทุนที่จะเกิดขึ้นราว 20,000 ลบ. แบ่งเป็น

• การพัฒนาเชิงพาณิชย์

ปัจจุบันอาคารผู้โดยสารรองรับได้ 8 แสนคน/ปี และกำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่รองรับได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคน/ปีในราวกลางปีหน้า ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ในระยะ ที่ 2 และ 3 ต่อไป โดยคาดการณ์ผู้ใช้งานสูงสุดในอนาคต  60 ล้านคน/ปี

• นิคมอุตสาหกรรมการบิน

ขณะนี้การบินไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนพัฒนาศูนย์ซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภา คาดใช้งบฯลงทุนหลักหมื่นล้าน โดยมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์ซ่อมเครื่องบินในภูมิภาคเอเชีย โดยจะผลักดันให้เกิดการลงทุนระยะที่ 1 (ปี 2559-2561)ก่อน จากทั้งหมดมี 3 ระยะ

• พัฒนาคมนาคมควบคู่

ส่วนใหญ่เป็นการขยายถนนที่เข้าถึงสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้รองรับการสัญจรให้มากขึ้น รวมถึงมีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุดเพิ่มเติม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาในระยะยาวเรื่องระบบราง คือ สถานีรถไฟอู่ตะเภา และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง

จำนวนเที่ยวบิน จำนวนผู้โดยสาร (สถิติปี 2559 เป็นปีคาดการณ์เมื่อเปิดใช้อาคารผู้โดยสารหลังใหม่แล้ว) ข้อมูล : เปิดพิมพ์เขียวสนามบินอู่ตะเภาฯ (ฐานเศรษฐกิจ 10-12 พ.ย. 59)  

ในส่วนของการขยายการให้บริการของสนามบินอู่ตะเภา ปัจจุบันอาคารผู้โดยสารเดิมมีขนาด 2,610 ตร.ม. รองรับได้ 8 แสนคน/ปี และกำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่มีขนาด 22,000 ตร.ม. ซึ่งเป็นแผนพัฒนาที่อยู่ในระยะที่ 1 สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านคน/ปีในราวกลางปีหน้า (2560) โดยมีสายการบินที่มีเที่ยวบินขึ้น-ลง 5 สายการบิน คือ • แอร์เอเชีย • บางกอก แอร์เวย์ • กานต์แอร์ • อาร์แอร์ไลน์ • ไชน่า เซาเทิร์น แอร์ไลน์
IMAGE : Pakin Khrueakamla ข้อมูล : ข่าวกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 131/2558 นายกตู่ เห็นชอบแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา (ผู้จัดการออนไลน์ 22 มิ.ย. 59)
ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ในระยะที่ 2 และ 3 ต่อไป โดยจะใช้งบประมาณปี 2560 ในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาใช้เวลาในการศึกษาราว 12 เดือน ซึ่งเบื้องต้นได้แบ่งระยะการพัฒนาเป็น 3 ระยะ โดยเน้นการปรับวิธีบริหารจัดการระหว่างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ กับอาคารผู้โดยสารเดิม ให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น โดย ระยะสั้น     : รองรับผู้โดยสารได้ 5 ล้านคน ระยะกลาง : เพิ่มการรองรับเป็น 15 ล้านคน ระยะยาว    : มองไว้เผื่อถึง 60 ล้านคน ทั้งยังกันพื้นที่ไว้สำหรับสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาที่จะผลักดันให้สนามบินอู่ตะเภา เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ตามมติการประชุมของกระทรวงคมนาคมและกองทัพเรือ เมื่อ 30 เม.ย. 2558 ตามแผนพัฒนามีการแบ่งระยะ ออกเป็น 3 ระยะ (ตามตารางด้านบน) ดังนี้

ระยะที่ 1 (ปี 2558 - 2560)

เป็นการเพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสารเป็น 3 ล้านคน/ปี โดยใช้อาคารผู้โดยสารที่มีอยู่เดิมและอาคารผู้โดยสารใหม่ รวมทั้งทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน การบริการทางภาคพื้น ระบบเติมน้ำมัน และหอบังคับการบินที่มีอยู่เดิม • ก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 331 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 36 (พนมสารคาม) – บรรจบทางหลวงหมายเลข 3 (อ.สัตหีบ) ขยายจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร • ก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (Moterway) ระหว่างเมืองสายพัทยา – มาบตาพุด • ปรับถนนทางเข้า – ออกหลักในฝั่งตะวันตกของท่าอากาศยานให้สอดคล้องกับการบริการเชิงพาณิชย์ของท่าอากาศยาน

ระยะที่ 2 (ปี 2561 – 2563)

เพื่อรองรับผู้โดยสารเป็น 5 ล้านคน/ปี โดยการเพิ่มการดำเนินการเชิงพาณิชย์ ในฝั่งตะวันตกให้มากขึ้น โดยยึดหลัก One Airport Two Mission ในการบริหารจัดการพื้นที่การให้บริการเชิงพาณิชย์และความมั่นคง ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือ

ระยะที่ 3 (ปี 2563 เป็นต้นไป)

การศึกษาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่ Landside และ Airside รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานอู่ตะเภา ให้รองรับการเติบโตของกิจการการบินในอนาคต

 

ตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นนิคมอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากเห็นศักยภาพของศูนย์ซ่อมแห่งนี้ ศูนย์ซ่อมแห่งนี้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 พื้นที่ 150 ไร่ มีขีดความสามารถในการซ่อมใหญ่ (Heavy Maintenance) สำหรับเครื่องบินลำ ตัวกว้างแบบ Boeing 747, Boeing 777, Airbus A330 และเครื่องบินลำตัวแคบแบบBoeing 737 โดย มีโรงซ่อมอากาศยาน(Hangar) ขนาดใหญ่สามารถนำเครื่องบินเข้าซ่อมบำรุงพร้อมกันได้ 3 ลำ ดำเนินการซ่อมเฉลี่ยปีละ 20 ลำ
ขณะนี้การบินไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนพัฒนาศูนย์ซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภา คาดใช้งบฯลงทุนหลักหมื่นล้าน โดยมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์ซ่อมเครื่องบินในภูมิภาคเอเชีย โดยจะผลักดันให้เกิดการลงทุนระยะที่ 1 (ปี 2559-2561)ก่อน ซึ่งระยะที่ 1 จะมีการก่อสร้างโรงซ่อมและโรงจอดเครื่องบินขนาดใหญ่ สามารถนำเครื่องบินพาณิชย์ใหญ่ที่สุดในโลก Airbus A380 จอดพร้อมกัน 2 ลำในโรงจอด และเจาะตลาดเครื่องบินรุ่นใหม่ เช่น Boeing 787 และ Airbus A350 เบื้องต้นลงทุนราว 5 พัน ลบ. และในส่วนการพัฒนาระยะที่ 2 และ 3 ต้องรอรายละเอียดต่อไป
โครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภา เป็นการลงทุนของภาคเอกชน ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งขององค์กร ตามแผนปฏิรูปของการบินไทยอยู่แล้ว ซึ่งต้องการให้การบินไทยแตกไลน์บริการใหม่ ๆ เพื่อหารายได้เพิ่มเติม นอกจากศูนย์ซ่อมอากาศยานที่เป็นการลงทุนของภาคเอกชนแล้ว ยังมีการลงทุนเป็น - ศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศและระบบโลจิสติกส์ (Air Cargo and Logistics Hub) - ศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินในทุกเรื่อง เน้นเรื่อง On The Job Training ไม่ว่าจะเป็น ช่าง, นักบิน และการให้บริการด้านภาคพื้น
ข้อมูล : บินไทยทุ่มหมื่น ล. ผุดศูนย์ซ่อมอู่ตะเภาฯ  (ประชาชาติธุรกิจ 12 ก.ค. 59) : นายกฯ เยี่ยมศูนย์ซ่อมเครื่องบิน อู่ตะเภา  (คมชัดลึก 22 มิ.ย. 59) : คิกออฟ‘ศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา’ โปรเจ็กต์นำร่องฯ  (ฐานเศรษฐกิจ 1 ก.ย. 58)

ในส่วนของการพัฒนาด้านคมนาคมถือเป็นโครงข่ายที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนท่าอากาศยานอู่ตะเภานั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักคือ

1. เส้นทางหลวง

โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายถนนให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับการใช้งาน ในฐานะที่เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์ และนิคมอุตสาหกรรมท่าอากาศยาน ซึ่งส่วนนี้จะรับผิดชอบโดยกรมทางหลวง

2. เส้นรางรถไฟ

เป็นการขยายเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่สนามบินด้วยระบบรางให้ง่ายขึ้นที่ ส่วนนี้จะรับผิดชอบโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย
 

1. เส้นทางหลวง

สำหรับโครงข่ายถนนที่กรมทางหลวงจะเป็นผู้รับผิดชอบ แบ่งเป็นโครงการที่กำลังก่อสร้าง และเป็นแผนงานในอนาคต ดังนี้

โครงการที่กำลังก่อสร้าง (ในแผนที่เส้นสีแดง)

• ขยายทางหลวงหมายเลข 331 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 36 (พนมสารคาม)-ทางหลวงหมายเลข 3 (อ.สัตหีบ) จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 25.923 กม. วงเงิน 607.650 ลบ. คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560

Google Street หน้าทางเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา ทางหลวง 3126

• ขยายเส้นทางหลวงหมายเลข 3126 ตอนพลูตาหลวง-ท่าเรือจุดเสม็ด (แสมสาร) จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 11.163 กม. โดยระยะเร่งด่วนจะดำเนินการช่วงด้านหน้าสนามบินอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 2.5 กม. ซึ่งล่าสุด ครม. อนุมัติงบประมาณ วงเงินรวม 221 ลบ. สร้างทางหลวงหมายเลข 3126 จากสามแยกทางหลวงหมายเลข 3 เข้าสนามบินอู่ตะเภาแล้ว นอกจากนั้นจะมีการเพิ่มภูมิสถาปัตยกรรมสองข้างทางเพื่อความสวยงาม โดยอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ ส่วนระยะทางที่เหลือจนถึงท่าเรือจุดเสม็ดจะดำเนินการในปี 2560

IMAGE : รูปแบบการขยายชองจราจรของโครงการขยายทางหลวง

มอเตอร์เวย์สาย 7 หรือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (พัทยา-มาบตาพุด) มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท โดยกรมทางหลวงแบ่ง 13 ตอนเริ่มก่อสร้างปี 2559 ให้แล้วเสร็จในปี 2562

แผนงานในอนาคต (ในแผนที่เส้นสีชมพู)

• ขยายทางหลวงหมายเลข 3 ตอนบ้านฉาง-ระยอง จาก 4 เป็น 8 ช่องจราจร ดำเนินการในปี 2560-2562 และ ตอนสัตหีบ-บ้านฉาง จาก 4 เป็น 8 ช่องจราจร ดำเนินการในปี 2561-2563 • ขยายทางหลวงหมายเลข 332 ตอนแยกเจ-แยกสนามบินอู่ตะเภา จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ดำเนินการปี 2562-2564

2. เส้นรางรถไฟ

สำหรับการวางแผนด้านระบบรางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าออกสนามบินอู่ตะเภานั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำแผนปรับปรุงเส้นทางรถไฟและก่อสร้างสถานี คือ เพิ่มสถานีอู่ตะเภา เพื่อรองรับผู้โดยสาร ซึ่งกองทัพเรือยินดีจะยกพื้นที่ให้สร้าง และยังมองถึงการเดินรถไฟถึงท่าเรือสัตหีบ (ท่าเรือจุกเสม็ด) โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณปี 2560 ในการลงทุนอยู่ที่ราว 70 ลบ. คาดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเปิดประมูลได้ในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ ใช้เวลาดำเนินการ 18 เดือนแล้วเสร็จ นอกจากนั้นอาจจะมีปรับปรุงทางให้แข็งแรงช่วงสถานีบ้านพลูตาหลวง-สถานีอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 4 กม. โดยจะมีการจัด Shuttle Bus ให้บริการระหว่างสถานีรถไฟอู่ตะเภาเข้าไปยังสนามบิน
ข้อมูล : ครม.อนุมัติงบฯ สร้างทางหลวงหมายเลข 3126 เข้าสนามบินอู่ตะเภา (ไทยรัฐ 6 ก.ย. 59) คมนาคมเร่งแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับสนามบินอู่ตะเภา (ผู้จัดการ 22 ก.ย. 58)
ในอนาคตจะมีการพัฒนาส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาไปเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-พัทยา ซึ่งในเฟส 1 รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้จะไปเชื่อมกับเส้นทางแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่สถานีลาดกระบัง และเฟส 2 จึงจะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไปยังท่าอากาศสุวรรณภูมิ ซึ่งต้องรอติดตามรายละเอียดความคืบหน้ากันต่อไป
 

PRESENTATION

 

มอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด

โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)หมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ – บ้านฉาง ช่วงพัทยา – มาบตาพุด มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท โดยกรมทางหลวงแบ่ง 13 ตอน รวมระยะทาง 31 กม. ระยะเวลาดำเนินงานก่อสร้าง 4 ปี เริ่มก่อสร้างปี 2559 ให้แล้วเสร็จในปี 2562 จะดำเนินการก่อสร้างเชื่อมต่อเส้นทางจากช่วงชลบุรี – พัทยา บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 36 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 3 บริเวณอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และการก่อสร้างปรับปรุงถนนโครงข่ายเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 3 บริเวณตำบลบ้านอำเภอ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ควบคู่ไปด้วย ระยะทาง 7.856 กิโลเมตร โดยก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ในเขตทางกว้าง 80 เมตร มีทางแยกต่างระดับ ได้แก่ ทางแยกต่างระดับมาบประชัน ทางแยกต่างระดับห้วยใหญ่ ทางแยกต่างระดับบ้านเขาซีโอน นอกจากนี้ ยังมีสถานีบริการทางหลวง ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณตำบลห้วยใหญ่ (ประมาณ กม.20) ด่านจัดเก็บเงินค่าผ่านทางแบบระบบปิด 3 แห่ง ได้แก่ ด่านห้วยใหญ่ ด่านเขาชีโอน และด่านอู่ตะเภา
  ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นเส้นทางสายหลักที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทั้งในภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว ด้วยแนวเส้นทางที่สามารถรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าในภาคตะวันออกไปยังทั่วทุกภูมิภาค เชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน ข้อมูล : ฐานเศรษฐกิจ 19 – 21 พ.ค. 59

IMAGE : กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

   

รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-ระยอง

  • ระยะทางรวม 193.5 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากสถานีลาดกระบังไปจนถึงสถานีระยอง
  • ใช้เขตทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหลัก
  • ระบบรางคู่ (Double Track) และมีความกว้างรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge)
  • โครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) เกือบทั้งหมด และมีอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ (Single Large Tunnel for Double Track) ความยาว 300 ม. บริเวณทางเบี่ยงเขาชีจรรย์
  • ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) พื้นที่กว่า 400 ไร่ จะตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในปี 2563 (ข้อมูล วันที่ 12 พ.ค. 59)
  • ในอนาคตจะมีการพัฒนาส่วนต่อขยายจากสถานีระยองไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา และจังหวัดตราด รวมระยะทางอีก 160 กม.
  • เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ระยะเวลาเดินทางประมาณ 1.05 ชั่วโมง (65 นาที)
  • ขบวนรถมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยจำแนกการให้บริการทั้งระดับชั้นวีไอพี (VIP Class) ชั้น 1 (First Class) และชั้นธรรมดา (Standard Class)

IMAGE : สถานีรถไฟความเร็วสูงระยอง

  • สถานีรถไฟความเร็วสูงทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และระยอง
  • ที่ตั้งของสถานีมีความสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านผังเมืองและแนวคิดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD)
  • มีทางเข้า-ออกสถานีที่เชื่อมต่อระหว่างย่านสถานีกับถนนโดยรอบ พร้อมทั้งจัดให้มีพื้นที่จอดรับส่งผู้ใช้บริการเพื่อให้สามารถเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง (INTER-MODAL PLANNING) ไปยังระบบขนส่งอื่นๆ เช่น Airport Link รถไฟความเร็วสูงสายแก่งคอย-ฉะเชิงเทรา ระบบขนส่งมวลชนทางรางขนาดเบา (Monorail) ของเมืองพัทยา
  • สถาปัตยกรรมภายในอาคารบ่งบอกเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีความทนทานต่อสภาพอากาศ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็ก ตามมาตรฐานสากล (Universal Design) รวมถึงพื้นที่สำหรับจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
ข้อมูล : โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ – ระยอง (ระยองฮิพ 18 พ.ค. 59)   สนามบินอู่ตะเภา สนามบินอู่ตะเภา
Content Creator
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon