realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้า Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ (Update 2564)

25 May 2018 43.2K

รถไฟฟ้า Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ (Update 2564)

25 May 2018 43.2K
 

รถไฟฟ้า Light Rail บางนา-สุวรรณภูมิ (Update 2564)

โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) สายบางนา - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นโครงการในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางในกทม.และปริมณฑล รวมถึงเป็นการเติมเต็มโครงข่ายระบบการเดินทางในเส้นทางสายหลัก ช่วยรองรับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยเส้นทางเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เดินทางได้สะดวกและรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องผ่านพื้นที่ใจกลางกทม. และเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางพื้นที่กทม. - สมุทรปราการ
ซึ่งถ.บางนา - ตราด ถนนสายหลักที่อยู่บนทำเลศักยภาพ ใช้เดินทางสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและภาคตะวันออก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมที่ค่อนข้างหนาแน่น โครงการนี้จึงช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้ประชาชน

ความเป็นมาของโครงการ

  • ปี 2552 – นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ว่ากทม.สมัยนั้นคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เสนอโครงการ Monorail 3 สาย ได้แก่ สายสยาม-สามย่าน, สายบางนา-สุวรรรภูมิ และ สายยมราช ได้มีการปรึกษาเส้นทางการเดินรถกับบริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • ปี 2553 – มีการเปิดโอกาสให้เอกชนยื่นข้อเสนอพื้นที่ตามแนวรถไฟ เพื่อสร้างเป็นโรงจอดรถและศูนย์ซ่อม (DEPOT)ซึ่งระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ได้ยื่นข้อเสนอพื้นที่เพื่อสร้างเป็นโรงจอดรถและศูนย์ซ่อม
  • ปี 2554 - มีการศึกษาเส้นทางเรียบร้อย และได้เปลี่ยนรูปแบบจาก Monorail เป็น Light Rail รอกระทรวงมหาดไทย (มท.) ยื่นข้อเสนอในที่ประชุมแก่ ครม. ในวาระสุดท้าย แต่มท.ไม่ได้ยื่นเรื่องเข้าที่ประชุม โครงการจึงหยุดชะงัก เพราะต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ และต้องเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมอีกครั้ง
  • ปี 2556 – มีการเปิดสัมมนารับฟังความเห็นจากบุคคลทั่วไปครั้งแรก หลังจากที่รถไฟฟ้าสายบางนา-สุวรรณภูมิมีการเปลี่ยนรูปแบบเป็น Light Rail transit รวมถึงรับฟังความเห็นของโครงการรถไฟอีกหลายสาย
  • ปี 2557 - 2558 มีการเปลี่ยนรูปแบบจาก Monorail เป็น Light Rail เนื่องจาก Light Rail Transit จะสามารถรองรับคนได้จำนวนมากกว่า รวมถึงการเชื่อมต่อกับโครงสร้าง BTS สายสุขุมวิท ที่มีอยู่ด้วย ทำให้ต้องศึกษาเส้นทางใหม่ เพราะเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่กว่าแบบ Monorailทำให้ต้องศึกษาเส้นทาง และสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อการสัญจร และประชาชนให้น้อยที่สุดทั้งในช่วงเวลาก่อสร้าง และเมื่อเปิดใช้
  • ปี 2559 ได้รับหนังสือตอบกลับจากกรมทางหลวง (ทล.) ว่าไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่รัฐในการดำเนินการก่อสร้าง ต้องเวนคืนพื้นที่เอกชนเพื่อการก่อสร้างโครงการแทน เพราะเกรงว่าจะกระทบการจราจรบนถ.บางนา-ตราด โครงการจึงต้องศึกษาเส้นทางใหม่ เพื่อให้การเวนคืนที่ดินน้อยที่สุด และไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน แต่อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)ได้อนุมัติเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายบางนา-สุวรรณภูมิลงในแผนแม่บทระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2ก่อนที่จะหมดวาระพรรคประชาธิปัตย์
  • ปี 2560 – กทม.ได้มีการร่วมมือกับ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เพื่อพัฒนา M-MAP 2 โดยให้มีการศึกษาและทบทวนเส้นทางทั้งหมด รวมถึงเริ่มทำรายละเอียด Blueprint
  • ปี 2561 เมื่อ 30 เม.ย. 2561 ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนา The Blueprint For M-MAP 2  เพื่ออัพเดทความคืบหน้า และร่วมหารือ รับฟังความเห็นทุกภาคส่วน ซึ่งขณะนี้ Blueprint ได้ดำเนินการไปกว่า 80 % แล้ว แต่สายบางนา-สุวรรณภูมิยังไม่ได้ข้อสรุปว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
  • เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 64 นายประพาส เหลืองศิรินภา ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) หน่วยงานในกทม.ที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เปิดการประชุมเพื่อศึกษาโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลโครงการ ทบทวนผลการศึกษา รูปแบบรายละเอียดโครการ และสิทธิประโยชน์ที่ภาคเอกชนให้ความสนใจในการลงทุน โดยรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน

Timeline การดำเนินโครงการ

  • โครงการนี้มีผลการศึกษาที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2556 แต่ด้วยสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป จึงนำโครงการนี้มาศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน
  • มิ.ย. 64 : ลงนามสัญญา
  • มิ.ย. – ส.ค. 64 : ศึกษาทบทวนความเหมาะสมโครงการ
  • ส.ค. – ธ.ค. 64 : ศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน
  • ก.ย. 64 : สัมมนาปฐมนิเทศโครงการ
  • พ.ย. – ธ.ค. 64 : สัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding Seminar), ทดสอบความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding Interview), สัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการ
  • ม.ค. 65 : จัดทำเอกสารพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในหมวดที่ 4 ส่วนที่ 1 การเสนอโครงการ
  • ก.พ. 65 : กทม.เสนอโครงการเข้าครม. เพื่ออนุมัติโครงการ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี
  • ปี 66 - 67 : จัดทำเอกสารร่วมลงทุนและหาผู้ร่วมลงทุน ใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง
  • ปี 68 - 72 : ดำเนินการก่อสร้างและทดสอบระบบของโครงการ ใช้เวลาประมาณ 4 ปี
  • ปี 72 : เปิดให้บริการระยะแรก บางนา-ธนาซิตี้
 

ผลประโยชน์เมื่อรัฐและเอกชนร่วมผลักดันโครงการ

  • ในเบื้องต้น กทม. มีแนวคิดจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 30 ปี ก่อสร้างและรับสัมปทานเดินรถ ซึ่งเป็นการร่วมทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
  • สร้างความคุ้มค่า เนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชนจะได้ทำงานที่แต่ฝ่ายเชื่ยวชาญ ทำให้งบประมาณที่ลงทุนและทรัพยากรที่ดำเนินการในโครงการนี้ เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด
  • ส่งเสริมการใช้ระบบราง ด้วยศักยภาพของเอกชนที่มีความสามารถในด้านการตลาดและการให้บริการ ทำให้เป็นการดึงดูดและส่งเสริมให้ประชาชนใช้การขนส่งทางรางที่มากขึ้น
  • เพิ่มช่องทางและโอกาสให้กับทางภาคเอกชนในการผลักดันโครงการและธุรกิจ
  • สนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ โครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาโครงการ ทำให้เป็นการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจของประเทศ

รูปแบบรฟฟ.ของโครงการ

  • รูปแบบรฟฟ.ที่ทางโครงการเลือกคือ รฟฟ.รางเบา ขนาดราง 1.435 ม. ความเร็ว 80 กม./ชม. ใช้ระยะเวลาเดินทางไป – กลับ 56 นาที คาดว่าสามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 15,000-30,000 คน/ชม.
  • ระบบการเดินรถ มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ เดินรถ 2 ทิศทางร่วมการเดินรถทางเดียว
  • สถานีเป็นรูปแบบยกระดับทั้งหมด 14 สถานี แบ่งเป็นยกระดับแบบเสาเดี่ยว 10 สถานี, ยกระดับแบบเสาคู่ 3 สถานี และ ยกระดับแบบเตี้ย 1 สถานี
 
สถานียกระดับ รองรับด้วยเสาเดี่ยว มี 10 สถานี
  • สถานีประภามนตรี
  • สถานีบางนา - ตราด 17
  • สถานีวัดศรีเอี่ยม
  • สถานีเปรมฤทัย
  • สถานีบางนา - ตราด 6
  • สถานีบางแก้ว
  • สถานีวัดสลุด
  • สถานีกิ่งแก้ว
  • สถานีมหาวิทยาลัยเกริก
  • สถานีสุวรรณภูมิใต้
สถานียกระดับ รองรับด้วยเสาคู่ มี 3 สถานี เนื่องจากไม่สามารถรองรับด้วยเสาเดี่ยวได้
  • สถานีบางนา - ตราด 25
  • สถานีกาญจนาภิเษก
  • สถานีธนาซิตี้
สถานียกระดับแบบเตี้ย มี 1 สถานี ออกแบบตามข้อจำกัดทางกายภาพของพื้นที่ ชั้นจำหน่ายตั๋วระดับดิน และ เดินเชื่อมถึง BTS สถานีบางนา ด้วยสะพานลอยยกระดับ (Skywalk)
  • – สถานีบางนา
  • ปัจจุบันตามแนวเส้นประสีแดง กทม.ได้ทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว
  • โครงการจะก่อสร้างทางเลื่อนอัตโนมัติ Walkalator LRT ตามแนวเส้นปะสีเขียว ระยะทางประมาณ 150 ม.
  • สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟท์และทางลาด บริเวณเส้นปะสีเหลือง

รายละเอียดโครงการ

  • โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อยู่ภาตใต้ความรับผิดชอบของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ที่เป็นหน่วยงานในกทม. โดยโครงการนี้งบประมาณอยู่ที่ 135,688 ลบ.
จุดมุ่งหมายของโครงการ
  • สามารถเดินทางไปสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รวดเร็ว
  • เชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่กทม.และสมุทรปราการ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทาง
  • เพิ่มศักยภาพระบบขนส่งทางราง โดยจะเชื่อมต่อกับโครงข่ายรฟฟ.เส้นทางหลัก เกิดศักยภาพการเดินทาง
  • ลดการใช้รถยนต์ ส่งเสริมการใช้รฟฟ. นอกจากนั้นยังรถมลพิษทางอากาศเนื่องจากควันของรถยนต์

แนวเส้นทาง

  • เริ่มต้นบริเวณสี่แยกบางนา มุ่งไปทางทิศตะวันออก ทางคู่ขนานถนนบางนา - ตราด ผ่านทางแยกต่างระดับศรี่เอี่ยม เข้าสู่เขต จ. สมุทรปราการ ทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก ถึงทางแยกต่างระดับกิ่งแก้ว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุวรรณภูมิ 3 และสิ้นสุดเส้นทางที่สนามบินสุวรรณภูมิด้านทิศใต้ รวมระยะทาง 19.7 กิโลเมตร
  • แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จากแยกบางนา - ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. และระยะที่ 2 จากธนาซิตี้ - สุวรรณภูมิด้านใต้ จำนวน 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กม.และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณสถานีธนาซิตี้

ระยะที่ 1 : แยกบางนา - ธนาซิตี้

ระยะที่ 1 แยกบางนา - ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กม. เร่งดำเนินการและศึกษาระยะที่ 1 ก่อน คาดเปิดบริการ ปี 2572
  • สถานีบางนา : อยู่ใกล้บริเวณสี่แยกบางนา จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีบางนา โดยมีสกายวอล์กเชื่อมที่บริเวณอาคารไบเทค บางนา
  • สถานีประภามนตรี : อยู่ใกล้กับรร.นานาชาติเบิร์คลีย์ และ รร.ประภามนตรี
  • สถานีบางนา - ตราด 17 : อยู่บริเวณปากซ.บางนา - ตราด 17 และเชื่อมต่อไปซ.อุดมสุข 42
  • สถานีบางนา - ตราด 25 : อยู่ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี และเซ็นทรัล บางนา
  • สถานีวัดศรีเอี่ยม : อยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม และเป็นจุดเชื่อมต่อกับรฟฟ.สายสีเหลือง สถานีศรีเอี่ยม
  • สถานีเปรมฤทัย : อยู่ตรงข้ามกับอาคารเนชั่น
  • สถานีบางนา - ตราด 6 : อยู่บริเวณซ.บางนา - ตราด 6
  • สถานีบางแก้ว : อยู่บริเวณด่านบางแก้ว
  • สถานีกาญจนาภิเษก : อยู่ตรงข้ามกับเมกา บางนา
  • สถานีวัดสลุด : อยู่บริเวณซ.วัดสลุด กับ ห้างบุญถาวร
  • สถานีกิ่งแก้ว : อยู่บริเวณหน้าตลาดกิ่งแก้ว
  • สถานีธนาซิตี้ : อยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านธนาซิตี้ และ ศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ
 

ระยะที่ 2 : ธนาซิตี้ - สุวรรณภูมิด้านใต้

ระยะที่ 2 ธนาซิตี้ - สุวรรณภูมิด้านใต้ จำนวน 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กม.
  • สถานีมหาวิทยาลัยเกริก : อยู่บริเวณมหาวิทยาลัยเกริก
  • สถานีสุวรรณภูมิใต้ : อยู่ภายในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศใต้
  • คาดเปิดให้บริการปี 2578

Mega Projects

รอบสายรถไฟฟ้า บางนา-สุวรรณภูมิ 

Mega Projects ที่ทุกๆคนคงคุ้นหูกันในย่านบางนานั้นได้แก่ Mega Bangna, BITEC Bangna, Central Plaza Bangna, สนามบินสุวรรณภูมิ  ด้วยความครบครันของสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญของคนในย่านนี้ รวมถึงยังเป็นที่ดึงดูดผู้คนจากหลายทิศทางเข้ามาเยือน ไม่ว่าจะเป็นคนอาศัยในตัวเมือง หรือคนจาก
ต่างจังหวัด นอกจากนี้กำลังจะมี Mega Projects ต่อเนื่องในย่านนี้ในรอบเส้นทางรถไฟฟ้าอีกหลายแห่งอาทิเช่น BITEC Bangna Phase 2, Megacity, Bangkok Mall, The Forestia และสนามบินสุวรรณภูมิ Phase 2 เป็นต้น มาอัพเดทย่านนี้ให้ดูกันว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างแล้ว
Mega City เป็นโครงการที่ต่อเนื่องในพื้นที่ของ Mega Bangna ซึ่งเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบ Mixed-Use พื้นที่ 400 ไร่บนถ.บางนา-ตราด ทุ่มทุนกว่า 67,000 ลบ. ครบครันทุกอย่างตั้งแต่ห้างสรรพสินค้า, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหาร,  ออฟฟิศ, โรงแรม 2 แห่ง และคอนโดมิเนียม เรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศเลยทีเดียว ยกระดับย่านบางนาให้เป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งในกรุงเทพเลยก็ว่าได้
Bangkok Mall เจ้าของโครงการคือ เดอะมอลล์ กรุ๊ป Bangkok Mall เป็นโครงการศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัย รวมถึงออฟฟิศแบบครบวงจรที่ยิ่งใหญ่ ทันสมัยและสมบูรณ์แบบที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  บนพื้นที่ 100 ไร่ ตรงข้ามไบเทคบางนา มูลค่ากว่า 20,000 ลบ. โดยจะแบ่งเป็นศูนย์การค้า, โรงแรม, ออฟฟิศ และอพาร์ทเมนต์ ซึ่งคาดเสร็จปี 66 คลิกเพื่ออ่านข่าวเพิ่มเติม
Whizdom 101 โครงการ Mixed-Use คอมมูนิตี้มอลล์และคอนโด จาก บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) บนถ.สุขุมวิท ระหว่าง BTS ปุณณวิถี และซอยสุขุมวิท 101/1 มูลค่ากว่า 30,000 ลบ. พื้นที่ 43 ไร่ แบ่งออกเป็น ส่วนที่พักอาศัย ประมาณ หนึ่งส่วนสาม ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่เพื่อการพาณิชย์
The Forestias  โครงการแบบ Mixed Use จาก MQDC  ภายใต้คอนเซ็ปสร้างความสัมพันธ์ของการใช้ชีวิตอันหลากหลาย และนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการใช้ชีวิต เข้ากับระบบนิเวศของผืนป่าขนาดใหญ่กว่า 900 ไร่ ด้วยมูลค่าโครงการมากกว่า 9 หมื่นลบ. เริ่มดำเนินการก่อสร้างปี 2561 และจะแล้วเสร็จภายในปี 2565
Bitec Bangna Phase 2 เมื่อปี 2559 ได้มีการเปิดตัว BITEC Bangna Phase 2 ไปเป็นที่เรียบร้อยงบลงทุนราว 6,000 ลบ. ขยายพื้นที่ 37,800 ตร.ม. ทำให้สามารถรองรับการจัดงานและกิจกรรมทุกประเภทของลูกค้าได้อย่างเต็มศักยภาพ มีพื้นที่รองรับงานจัดแสดงนิทรรศการและงานแสดงสินค้าได้กว่า 70,000 ตร.ม.
Suvarnabhumi Airport Phase 2 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เตรียมเปิดประมูลงานก่อสร้างขยายส่วนอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออกกลางปี 2561 วงเงิน 6,000 ลบ. รวมถึงจะมีการเปิดประมูล Terminal 2 ด้วยในเวลาใกล้เคียงกัน หากขยายอาคารฝั่งตะวันออกเสร็จนั้น จะสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 90 ล้านคน/ปี ส่วน Terminal 2 หากแล้วเสร็วจะรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคน/ปี  คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 90 ล้านคน/ปี คลิกเพื่ออ่านข่าวเพิ่มเติม
Central Plaza Bangna Central Plaza บางนา ได้มีการปรับโฉมใหม่ปี 2560 งบประมาณ 4,500 ลบ. เพื่อรับกับ Lifestyle ของกลุ่มเป้าหมายหลัก Shopping Mall โซนกรุงเทพตะวันออก ภาพลักษณ์จึงจะมีความหรูหรามากขึ้น มีการปรับโฉมแต่ละโซนภายในห้าง เช่น โซน Cental Department Store ภายใต้คอนเซ็ปที่หรูมากขึ้น และ Best Selective FASHION BRAND คัดสรรแบรนด์แฟชั่นระดับไฮเอนด์ มาไว้ในจุดเดียว เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นการปรับโฉมเพื่อรองรับกลุ่มคนใหม่ๆ รวมถึงให้ประสบการณ์ใหม่ๆ กับลูกค้าประจำในย่านด้วย
Central Village Central เจาะทำเลใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ เปิดตัว Central Village – Bangkok Outlet Experience  ที่เรียกวาเป็น Outlet ที่มีความ Luxury และเน้นให้เป็นจุดมุ่งหมายสำหรับการช็อปปิ้งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยร้านค้ากว่า 235 ร้านค้า ทั้งแบรนด์ชั้นนำระดับโลกและแบรนด์ไทย ด้วยส่วนลด 35-70% ทุกวันตลอดปี คลิกเพื่ออ่านข่าวเพิมเติม

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon