realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีทอง

15 Dec 2020 49.1K

รถไฟฟ้าสายสีทอง

15 Dec 2020 49.1K
 

รถไฟฟ้าสายสีทอง เชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้า 3 สายหลัก สายสีเขียว สีม่วง สีแดง และระบบรถ ราง เรือ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองแบบโมโนเรล  ปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเขตคลองสานและเขตธนบุรี มีประชาชนอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ ดังนั้นโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ตั้งแต่สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ถึงเขตคลองสาน ต่อเชื่อมถนนประชาธิปก นับเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (Feeder) เพื่อเชื่อมต่อและเพิ่มการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนหลัก โดยมุ่งบรรเทาปัญหาการจราจรที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากความเจริญและการเติบโตอย่างรวดเร็วในพื้นที่ และสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่และประชาชนโดยทั่วไปผู้ใช้เส้นทาง

รฟฟ. สายสีทอง เฟสแรก เปิดให้บริการ 3 สถานี

ล่าสุด รฟฟ. สายสีทอง ในเฟสที่ 1 เปิดให้บริการแล้ว 3 สถานี ระยะทาง 1.74 กิโลเมตร ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี, สถานีเจริญนคร (เชื่อม Icon Siam) และสถานีคลองสาน ซึ่งในอนาคตจะมีการก่อสร้างเฟสที่ 2 เพิ่มอีก 1 สถานี ได้แก่ สถานีประชาธิปก โดยมีทางวิ่งยาวเพิ่มเติมอีก 0.88 กิโลเมตร

รฟฟ ระบบ APM ไร้คนขับสายแรกของประเทศ

รถที่ให้บริการสำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง คือ รถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300 มีความพิเศษคือ เป็นรถไฟฟ้าระบบไร้คนขับสายแรกของประเทศ โดยใช้รางนำทาง มีผิวสัมผัสระหว่างล้อและทางวิ่งเป็นยาง ซึ่งจะทำให้เกิดความนุ่มนวลและก่อให้เกิดเสียงรบกวนต่ำ ความเร็วการทำงานสูงสุดที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
 
เป็นเส้นทางระยะสั้นเพียง 2.7 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 4 สถานี เป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นอีก 3 สถานี คือ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีกรุงธน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่สถานีคลองสาน และเชื่อมต่อกับสายสีม่วง ที่สถานีประชาธิปก ซึ่งการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่หนึ่ง 1.8 กิโลเมตร 3 สถานี ใช้เงินลงทุน 2,512 ล้านบาท ระยะที่สอง 0.9 กิโลเมตร 1 สถานี ใช้เงินลงทุน 1,333 ล้านบาท

ICONSIAM

อภิมหาโปรเจคริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เกิดจากการรวมตัวของ 3 บริษัทใหญ่ คือ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และเครือเจริญโภคภัณฑ์ บนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ งบลงทุน 5 หมื่นล้านบาท ล่าสุดได้มีการประกาศร่วมลงทุนระหว่าง Takashimaya ห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมียมจากประเทศญี่ปุ่น และ Mandarin Oriental Hotel Group เพื่อติดแบรนด์และบริหารโครงการที่พักอาศัยระดับซูเปอร์ลักชัวรี่จำนวน 146 ยูนิต ในพื้นที่โครงการ Iconsiam และเป็น Shopping Complex ขนาด 7 ชั้น พื้นที่โครงการ 36,000 ตารางเมตร งบลงทุน 3 พันล้านบาท คลิกที่รูปเพื่ออ่านบทความ "ไอคอนสยาม"

สถานีกรุงธนบุรี (G1)

ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายกรุงธนบุรี โดยแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก บนเกาะกลางถนนกรุงธนบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร จากนั้นมุ่งหน้าเข้าสู่สถานีเจริญนคร

สถานีเจริญนคร (G2)

ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองวัดทองเพลง แล้วมุ่งหน้าต่อไปยังแยกคลองสาน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงไปอยู่เหนือแนวทางเดินเท้าด้านซ้ายฝั่งคลองสมเด็จเจ้าพระยา เข้าสู่สถานีคลองสาน

สถานีคลองสาน (G3)

ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน โดยมีทางเดิน (Sky walk) เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินได้โดยตรง และในอนาคตสถานีคลองสาน (G3) จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย

สถานีประชาธิปก (G4)

เป็นส่วนระยะที่ 2 ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร มี 1 สถานี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
INFO : http://www.bangkok.go.th/main/page.php?&43-News&type=detail&id=5596
รูปแบบโครงการจะเป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดรอง (Feeder) ก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง ซึ่งก่อสร้างได้ง่าย มีความปลอดภัยและความคล่องตัวสูง มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ใช้เวลาในการก่อสร้างน้อย โครงสร้างเสามีขนาดเล็ก ไม่มีการเวนคืนที่ดิน ส่วนรถไฟฟ้าจะเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา เป็นรถไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก (AGT) ซึ่งสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 4,000-12,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง วิ่งด้วยความเร็ว 3 นาทีต่อขบวน

ระบบ Feeder คืออะไร?

คือ ระบบขนส่งมวลชนรอง ได้แก่ รถเมล์ รถไฟฟ้าขนาดรอง เรือ เป็นต้น ที่เชื่อมกับระบบขนส่งมวลชนสายหลักที่จะวิ่งเข้าสู่ใจกลางเมือง (CBD) โดยที่เส้นทางจะไม่ซ้อนทับกับระบบขนส่งมวลชนสายหลัก และสามารถเข้าสู่พื้นที่ได้ดีกว่า มีความเป็น Local กว่านั่นเอง
 

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 
 

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon