realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

เปิดแผนโครงการใหม่ "รถไฟฟ้ารางเบา" นำร่องราชประสงค์-จุฬาฯ

20 Dec 2018 10.1K

เปิดแผนโครงการใหม่ "รถไฟฟ้ารางเบา" นำร่องราชประสงค์-จุฬาฯ

20 Dec 2018 10.1K
 

เปิดแผนโครงการใหม่ "รถไฟฟ้ารางเบา" นำร่องราชประสงค์-จุฬาฯ

  เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 61 ได้มีข่าวเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเกิดขึ้นนั่นคือ "โครงการรถไฟฟ้ารางเบา" ระบบขนส่งมวลชลที่กทม. จะนำเข้ามาใช้ในเมือง นับเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรจับตามอง เพราะจะมีผลกระทบโดยตรงกับชาวกรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัยและพึ่งพาขนส่งมวลชนเป็นหลักในการสัญจรและการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดย "โครงการรถไฟฟ้ารางเบา" ดังกล่าวนี้คือ โครงการในรูปแบบขนส่งมวลชนสายรอง ที่มีวัตถุประสงค์คือเพิ่มการเชื่อมต่อกับขนส่งมวลชนสายหลัก (BTS, MRT, Aitport Rail Link) ให้ทั่วถึงและสะดวกมากขึ้น แก้ปัญหารถติดในกทม. หรือเราสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้คือ "ขนส่งมวลชนระบบ Tram" ที่เป็นระบบเดียวกันกับที่หัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะแถบยุโรป ซึ่งในอดีตของไทยเราเองก็เคยใช้ระบบ Tram นี้ เป็นระบบในการสัญจรมาตั้งแต่ในอดีตแล้วแต่ได้ทำการยกเลิกไป
ซึ่งจากเนื้อข่าวมีการระบุว่าโครงการนี้กำลังจะเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร นำเสนอเส้นทางทั้งหมด 10 สาย งบประมาณลงทุนกว่า 100,000 ลบ. ปัจจุบันอยู่ในช่วงศึกษาโครงการ เป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน โดยมีกทม.เป็นผู้ให้สัมปทาน มอบหมายให้บริษัทลูกอย่าง กรุงเทพธนาคม เป็นผู้จัดการโครงการ และ RTC BUS เป็นผู้รับสัมปทานการเดินรถ เบื้องต้นกำหนดเส้นทางนำร่อง 2 เส้นทางคือเส้นราชประสงค์ - จุฬาฯ ก่อนและจะนำเสนอทั้งหมด 10 เส้นทางในอนาคต
โดยคาดว่าจะพิจารณาโครงการเสร็จสิ้นในช่วงปลายปี 63 และจะเริ่มทำการก่อสร้างและพร้อมเปิดใช้งาน 2 สายแรกในช่วงปี 65 ในวันนี้ REALIST จะพาไปทำความรู้จักระบบรถดังกล่าวว่ามีระบบและหน้าตาเป็นอย่างไร มีเส้นทางไหนบ้างที่จะต่อคิวพัฒนาต่อไป รวมถึงวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของระบบดังกล่าวในบริบทของการจราจรไทย ว่าจะมีความน่าสนใจและมีความเป็นได้มากขนาดไหน ไปชมพร้อมกันได้เลยครับ

ทำความรู้จักขนส่งระบบรถราง

การขนส่งมวลชนระบบราง (Rail Transit System)

Image: Allen, Cecil J. (1928) The Steel Highway, London
การขนส่งระบบราง (Rail Transit System) เป็นการขนส่งที่พัฒนามาตั้งแต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การค้นพบเครื่องจักรไอน้ำในประเทศอังกฤษ เป็นการขนส่งที่รวดเร็วและมีบทบาทสูง สามารถเคลื่อนย้ายคน สิ่งของ ได้อย่างรวดเร็ว ปริมาณมาก และมีค่าใช้จ่ายต่ำ มีการแบ่งประเภทตามปริมาณการขนส่ง คือ - รถไฟรางเบา (Light Rail) ขนส่งมวลชนปริมาณน้อยและช่วงระยะสั้น  - รถไฟรางหนัก (Heavy Rail) ขนส่งมวลชนปริมาณมากและช่วงระยะยาว
 

ประเภทของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในปัจจุบัน

1. รถไฟฟ้าขนส่งขนาดใหญ่ (Commuter Rail) Image: Railwaypro รถไฟฟ้าขนส่งขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ถูกออกแบบสำหรับเป็นรถโดยสาร หรือบริการขนส่งสินค้า ระหว่างเมืองหรือภูมิภาค ที่มีการใช้ความเร็วที่สูงกว่าประเภทอื่น
2. รถไฟฟ้าขนส่งขนาดกลาง (Rapid Transit) Image: Informationbangkok รถไฟฟ้าที่ใช้สำหรับขนส่งและสัญจรระหว่างเมือง ภายในเมือง หรือระหว่างย่าน เป็นกลุ่มรถไฟฟ้าที่ใช้ความเร็วระดับกลางซึ่งต้องใช้ระบบรางแยกออกจากการสัญจรอื่น
3. รถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) Image: Valley METRO Light Rail รถไฟฟ้าขนาดเล็กที่วิ่งบริการเชื่อมต่อระหว่างย่านในเขตเมือง ระบบนี้สามารถวางรางวิ่งร่วมกับพาหนะอื่นบนถนนได้  หรือจัดวางรางให้เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกับ Rapid Transit
4. รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) Image: Ventures Africa เป็นรถไฟฟ้าที่ออกแบบรางให้ยกระดับ โดยทั่วไปใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีบริการขนาดใหญ่ หรือในพื้นที่ซึ่งมีข้อจำกัดด้านกายภาพมาก
 

5. รถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็ก (Tram)

Image: Prague Guide เป็นพาหนะที่วิ่งบนร่องที่เป็นรางเหล็กลงที่ฝังลงไปบนผิวถนน มีลักษณะคล้ายรถไฟแต่จะสั้นกว่า วิ่งช้ากว่า และมีน้ำหนักที่เบากว่า รถรางส่วนมากใช้ไฟฟ้าจากสายไฟด้านบน (Pantograph) แต่ก็ยังมีบางส่วนใช้ดีเซลอยู่ ปัจจุบันมีการเรียก Tram ในอีกชื่อหนึ่งว่า Streetcar ซึ่งเป็นอีกระบบที่คล้ายเคียงกัน อีกทั้งยังถูกกล่าวว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในบางประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีการใช้ระบบ Tram ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
Image: The Local Germany ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ประกอบกับระบบที่วางไว้แต่เดิมแล้ว การลงทุนกับระบบ Tram จึงน้อยมาก เพราะไม่ต้องก่อสร้าง ไม่ต้องเวรคืนที่ดิน อีกทั้งตัวรถก็มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน ตอบโจทย์ในเรื่องของการขนส่งมวลชนในระยะยาว จึงไม่แปลกที่นักผังเมืองจากทุกสำนักจะกล่าวว่า "ระบบ Streetcar หรือ Tram เป็นระบบการขนส่งมวลชนในเมืองที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในขณะนี้"
อย่างไรก็ตาม คำพูดที่ว่าดังกล่าวเป็นเพียงการวิเคราะห์จากบริบทของประเทศที่เหมาะสมและมีความพร้อมอยู่แล้ว และยังมีอีกหลายประเทศที่ระบบ Tram ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดเช่นกัน ซึ่งในแต่ละประเทศมีระบบและการปลูกฝังการใช้จราจรที่แตกต่างกัน ระบบการสัญจรที่ดีที่สุดของแต่ละประเทศก็ย่อมที่จะแตกต่างไปด้วย   

ระบบรถรางในต่างประเทศ

San Francisco, USA Image: Bernard Spragg
Amsterdam, Netherlands Image: Tukka
Tokyo, Japan Image: Koho.Metro.Tokyo
Hong Kong Image: A beginner's guide to HK

ระบบรถรางในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยเองก็เคยมีการใช้ระบบรถรางมาแล้วในอดีตเช่นกัน โดยมีการเปิดใช้ตั้งแต่ปี 2431 จนถึงปี 2511 ได้ทำการยกเลิกระบบรถราง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการขนส่ง ที่มีพาหนะให้บริการได้รวดเร็วมากขึ้น รวมถึงเส้นทางของรถรางเองก็ถูกมองว่ากีดขวางการจราจร ระบบรถรางถึงถูกยกเลิกนับตั้งแต่นั้นมา ซึ่งบางเสียงมองว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด บางเสียงก็กล่าวว่าทำถูกต้องแล้ว เพราะเราต้องปรับตัวตามความเจริญและบริบทของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเรายังสามารถเห็นร่องรอยของระบบขนส่งมวลชนรถรางในสมัยก่อนได้ ที่บริเวณข้างศาลหลักเมือง ที่ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ที่เดียวและมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แต่มีช่วงระยะสั้นๆ เท่านั้น

รถรางในอดีต

Image: เพจ ย้อนอดีต...วันวาน

ร่องรอยในปัจจุบัน

Image: เพจ ทีมนั่งรถไฟ กับนายแฮมมึน

โครงการรถไฟฟ้ารางเบา 2561

นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า กทม. มีแนวคิดในการพัฒนาขนส่งมวลชนระบบรอง บรรเทาการจราจรบนเส้นทางหลัก ดึงคนที่อยู่ในเส้นทางซึ่งรถไฟฟ้าสายหลักเข้าไม่ถึง ให้เข้าสู่ตัวสถานีใหญ่ได้อย่างสะดวกโดยไม่เสียเวลาต่อโดยสารรถประจำทางหรือจักรยานยนต์รับจ้าง ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว จึงเกิดโครงการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Tram ในเขตกทม.ขึ้น โดยรายชื่อหน่วยงานที่ดำเนินการมีทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีกทม.เป็นเจ้าของสัมปทาน ร่วมมือกับ กรุงเทพธนาคม และ RTC วางเป้างบประมาณทั้งหมดมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ใช้รูปแบบเดียวกับการลงทุนรถไฟฟ้าบีทีเอส
บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกของ กทม. ที่เป็นวิสาหกิจกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการโครงการระบบขนส่งมวลชนทั่วกรุงเทพมหานคร
บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC BUS) เป็นบริษัทเอกชนที่เสนอตัวเข้ารับสัมปทาน และเป็นรายเดียวกับเอกชนที่ลงทุนสมาร์ทบัสที่วิ่งให้บริการปัจจุบันที่ จ.เชียงใหม่ (CM City Bus)

ความคืบหน้าปัจจุบัน

กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาแบบคู่ขนานทั้งในส่วนฝั่งกทม. และฝั่งของเอกชน โดยกทม. ศึกษาภาพรวมของโครงการ, รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายละเอียดการออกใบอนุญาตสัมปทานเดินรถให้กับ RTC Bus ซึ่งในฝั่งของ RTC เองก็ทำการศึกษาเส้นทางที่จะเปิดให้บริการในช่วงนำร่องและเส้นทางในอนาคตที่สอดคล้องกับทางกทม.

กำหนดการโดยคร่าว

โดยมีกำหนดการอย่างคร่าวๆ คือ ขั้นตอนการศึกษาจะให้แล้วเสร็จภายในประมาณไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2563 และหลังจากนั้นจะเข้าสู่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดใช้งานสายนำร่อง 2 สายแรกได้ในช่วงประมาณปลายปี 2564 - ต้นปี 2565

รูปแบบระบบและรถไฟฟ้าโดยประมาณ

รูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเบา มีขนาดเล็กกว่าบีทีเอสประมาณครึ่งเมตร ความกว้างของรางมาตรฐานเหมือนต่างประเทศคือ 1.435 ม. โดยทำการก่อสร้างตรงกลางถนน ไม่มีการเวนคืนที่ดิน ลักษณะการก่อสร้างเป็นการเปิดหน้าถนนเพื่อเทคอนกรีตฝังรางสำหรับรองรับรถ ไม่มีการตอกเสาเข็ม (เว้นแต่ในบางจุดที่จำเป็นและสถานีเพิ่มเติมในบางจุด)
ภายในรถจะเป็นดิจิตอล มีไวไฟ และระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ เหมือนบีทีเอส ความจุผู้โดยสารรวมนั่ง-ยืน ประมาณ 300 คน/ขบวน จำนวนรถจะใช้อยู่ที่ 4 ขบวน/เส้นทาง ส่วนระยะเวลารถไฟฟ้าวิ่งมาถึงสถานีประมาณ 15 นาที/คัน ระยะแรกจะทดสอบไปก่อน แต่หากรถติดมากจะเพิ่มจำนวนรถ เพื่อรักษาระยะเวลาไม่ให้เกิน 15 นาที และจะลดลงให้เหลือระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอรถเพียง 10-12 นาที (ตามลำดับ)
 

พื้นที่ให้บริการ

สำหรับพื้นที่ให้บริการเบื้องต้นระบุว่ามีประมาณ 10 สาย โดยมีการเลือกพื้นที่นำร่องในบริเวณใน 2 เส้นทางก่อนที่จะขยายไปสู่เส้นทางอื่นๆ ในระยะต่อไป โดย 2 เส้นทางแรกที่เลือกคือ 1. สายสีชมพู และ 2. สายสีเหลือง

1. สายสีชมพู

มีลักษณะวิ่งวนขวา ตามเข็มนาฬิกา เริ่มเส้นทางตั้งแต่ ถ.ราชดำริ - สีลม - รพ.จุฬาฯ - ถ.พระราม 4 - จามจุรีสแคว์ - ถ.พญาไท - จุฬาฯ - แยกปทุมวัน - สะพานหัวช้าง - แยกราชเทวี - ถ.เพชรบุรี - พันทิพย์ - ศูนย์การค้าแพลททินั่ม - เซนทรัลเวิลด์ - แยกราชประสงค์ - ถ.ราชดำริ และวิ่งวนกลับมาจนถึงสีลม

2. สายสีเหลือง

มีลักษณะวิ่งวนซ้าย ทวนเข็มนาฬิกา เริ่มเส้นทางตั้งแต่ สีลม - ย่านลุมพินี - ถ.พระราม 4 - ถ.วิทยุ - มักกะสัน - ราชปรารถ และกลับเข้ามายังย่านราชประสงค์ โดยกำหนดให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่การเชื่อมต่อ Multi-modal Streets ซึ่งมีสายสีชมพูและสีเหลืองซ้อนทับกัน
Image: Ckianh2000
นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครออกข้อกำหนด Road Pricing เพื่อจำกัดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคล และข้อกำหนดลดพื้นที่จอดรถในอาคารตามแผน Parking Requirement เพื่อสนับสนุนการเพิ่มจำนวนคนเดินเท้าระหว่างอาคารจอดรถแล้วจรกับศูนย์การค้า พร้อมข้อกำหนดรูปแบบควบคุมสภาพด้านหน้าอาคาร (Facade) และกิจกรรมชั้น 1 และ 2 ของพื้นที่สองข้างทางของ Tram (Shopfront Control) ให้สนับสนุนการพัฒนาย่านการค้าปลีก (Retail Neighborhood) และย่านเศรษฐกิจ 2 ข้างทางย่อย (Sub Economic Corridor) ถือเป็นการตอบรับกับ “ราชประสงค์ โมเดล” โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ราชประสงค์ ที่ปัจจุบันมีการดำเนินการ Ratchaprasong Walk หรือ R-Walk โครงข่ายเส้นทางเดินลอยฟ้าเชื่อม 4 ทิศทาง และจะมีการขยายทางเท้าในแนวเส้นทางจากทางเท้าที่เดิมกว้างเพียง 2 ม. เป็นอย่างน้อย 5 – 6 ม. ซึ่งจะทำการตีเส้นลดความกว้างช่องจราจรจาก 3.85 ม. เป็น 2.90 ม. อีกด้วย
ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้สามารถปรับปรุงทางเท้าให้กว้างขึ้น นอกจากนั้นยังมีแนวคิดในการพัฒนาคลองซุง จัดทำถนนทางเชื่อมรถไฟฟ้ากับท่าเรือ ช่วยส่งเสริมให้พื้นที่เป็นจุดสนใจ เป็นพื้นที่ที่มีระเบียบเรียบร้อยและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย Info: MGR Online; พ.ค. 61, Brand Buffet Team; มิ.ย. 61

3. เส้นทางในอนาคต

สำหรับเส้นทางอื่นในอนาคต มีวิธีการคิดระยะทางของแต่ละเส้นใช้หลักตามระบบ Feeder System คือมีระยะทางที่สั้น วิ่งไม่ไกล แต่ละเส้นทางมีระยะทางประมาณ 10-20 กม. ไม่เกินนี้ เชื่อมต่อศูนย์เศรษฐกิจสำคัญในพื้นที่ต่างๆ โดยเป้าหมายเส้นทางในอนาคตเบื้องต้นได้แก่ สุขุมวิท (อโศก-ทองหล่อ), อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (อนุสาวรีย์ฯ-ราชวิถี), เมืองเก่ารัตนโกสินทร์ (รื้อฟื้นและประยุกต์ใช้เส้นทางรถรางเดิมในอดีต) และ สถานีกลางบางซื่อ (เตาปูน-สะพานควาย) เป็นต้น  

คาดการณ์ตำแหน่งเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบา

จากการวิเคราะห์เราจึงคาดการณ์ตำแหน่งการก่อสร้างเส้นทางของรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในช่วงบริเวณราชประสงค์ ที่จะเป็นจุดรวมของ 2 สายนำร่อง คาดว่าจะสามารถใช้เส้นทางในช่องเดียวกันและรถไฟฟ้ารางเบาอาจจะเกิดขึ้นบริเวณฝั่งเกษรพลาซ่า ที่สามารถใช้เป็นตำแหน่งสถานีในอนาคตได้ อีกทั้งยังอ้างอิงจากโครงการปรับปรุงความกว้างทางเท้าและทิศทางการสัญจรที่สอดคล้องกัน *ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคาดการณ์จากเนื้อข่าว ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ โดยหากมีสรุปตำแหน่งที่ชัดเจนแล้ว จะนำมาอัพเดทให้ชมกันครับ  

ผลดีและผลกระทบของโครงการ

คาดการณ์ผลดีของโครงการ

ภาพรวมของระบบ

• มีอายุการใช้งานยาวนาน (ประมาณ 30 ปี) • จุคนได้ในปริมาณมากเมื่อเทียบกับระบบรางเบา • ระบบไฟฟ้าไม่ก่อมลภาวะทางอากาศ • รถวิ่งในระดับ 30-40 กม./ชม. ไม่เกิดมลภาวะเสียง • มีความเร็วต่ำ เป็นมิตรกับคนเดินและพาหนะอื่นๆ

การจราจร

• บรรจุคนได้มากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าระบบขนส่งปัจจุบัน • สามารถวิ่งรวมกับพาหนะอื่นได้ ไม่แบ่งแยกเลน • อาจเป็น Priority หลักของถนน ได้สิทธิ์ก่อนรถยนต์ส่วนบุคคล • ลดค่าใช้จ่าย และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างไม่นาน

เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

• ลดจำนวนการสัญจรด้วยรถส่วนตัวในระยะยาว • สนับสนุนให้ใช้ระบบขนส่งแบบเดินได้มากขึ้น • ตอบสนองนโยบายกทม. เมืองแห่งการเดิน • ตอบสนองนโยบายเมืองแห่งศูนย์การค้าปลีก • เพิ่มปริมาณผู้โดยสารและการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนหลัก

คาดการณ์ผลกระทบจากโครงการ

ภาพรวมของระบบ

• หากเกิดเหตุรางชำรุด ต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข และรถขบวนอื่นจะไม่สามารถวิ่งได้เลยทั้งเส้น • หากตัวรถชำรุด ต้องดำเนินการซ่อมทันที เพราะคันก็อื่นวิ่งต่อไม่ได้เนื่องจากเป็นรางเดี่ยว • ระบบการก่อสร้างของรางไม่ได้แข็งแรงมาก สามารถชำรุดและเป็นอันตรายได้ง่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน • สำหรับรถที่ใช้ไฟฟ้า จะต้องใช้ไฟวิ่งตลอดเวลา ถ้าเกิดเหตุขัดข้องที่ไฟฟ้า จะเป็นการตัดระบบทั้งหมด

การจราจร

• หากเกิดระบบขัดข้องจะส่งผลโดยตรงกับการจราจรโดยเฉพาะเมื่อเกิดเสียกลางถนน • การจัดการ Priority ของแต่ละพาหนะจะเพิ่มขึ้นและสร้างความสับสนในการจราจรได้ง่าย • มีบางส่วนที่ต้องผ่ากลางถนนเพื่อเลี้ยวเข้าสู่ป้าย อาจเป็นสาเหตุให้รถติดมากกว่าเดิม • การเดินรถช้าอาจทำให้ระบบการจราจรทั้งหมดช้าลง เพิ่มความแออัดให้กับถนนมากกว่าเดิม

เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

• การลงทุนตั้งต้นสูงกว่าระบบขนส่งปัจจุบัน หากไม่ใช้ในระยะยาวจริงๆ อาจขาดทุนได้ • การศึกษาความคุ้มในการลงทุนยังออกมาไม่แน่ชัดทั้งในเรื่องของรูปแบบระบบ, รูปแบบการก่อสร้าง หรือ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับภาพรวมของระบบเศรษฐกิจได้
สำหรับผลกระทบของโครงการที่คาดว่าจะส่งผลกับภาพรวมของการจราจรเดิม ทางสมาคมการผังเมืองไทยได้คิดแนวทางการบริหารการจัดการพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1: 6 เดือนแรกหลังการเปิดใช้งาน จะเป็นช่วงวิกฤติการจราจร เนื่องจากเป็นช่วงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางการทดสอบระบบสัญลักษณ์จราจรและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการตลาด ช่วงที่ 2: 6 เดือนถัดมา ประชาชนผู้สัญจรผ่านพื้นที่ประมาณร้อยละ 30 จะหันมาใช้ tram ส่วนผู้สัญจรที่เหลือจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถนนร่วมกับ tram ได้มากขึ้น
ผู้ประกอบการสองข้างทางจะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่จอดรถและให้ความร่วมมือกับโครงการในการประชาสัมพันธ์เส้นทาง ป้ายจอด และการจัดแพคเกจส่งเสริมการตลาด ในช่วงนี้ headway จะเริ่มควบคุมได้ ช่วงที่ 3: ปีที่ 2 หลังการเปิดใช้งาน จะเป็นช่วงสมบูรณ์ของการใช้ทางร่วมกัน จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริการได้อย่างเต็มที่ จะสามารถเพิ่มระยะ headway เป็น 3 นาทีต่อคัน
Info: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ; ต.ค.-พ.ย. 61   " อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้ารางเบากรุงเทพมหานคร นี้เป็นเพียงแค่ช่วงเริ่มต้นโครงการ ซึ่งต้องทำการศึกษาต่ออย่างมากในมิติต่างๆ " ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน และไม่สามารถบอกได้ว่าโครงการนี้จะออกมาในทิศทางไหน จะเป็นไปตามแผนและกำหนดการหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป การนำเสนอในครั้งนี้ก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทางโครงการได้เปิดเผยสู่สาธารณะประกอบกับการวิเคราะห์จากข้อมูลหลายๆ แหล่งเพียงเท่านั้น และถ้าหากโครงการมีความก้าวหน้าและอัพเดทในอนาคต ทาง REALIST จะรวบรวมและนำเสนอข้อมูลดังกล่าวมาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณากันต่อไปครับ
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon