realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน-ญี่ปุ่น

12 April 2016 61.7K

รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน-ญี่ปุ่น

12 April 2016 61.7K
 

รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน-ญี่ปุ่น

"อาคม" ยันดันรถไฟเร็วสูง 4 เส้นทาง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง เพื่อเชื่อมไปยัง 4 หัวเมืองหลักที่สำคัญ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคต ประกอบด้วย

1.กรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ไทย-จีน) ระยะทาง 250 กม. โดยไทยจะเป็นฝ่ายลงทุนเองทั้งหมด แต่จะใช้เทคโนโลยีก่อสร้างจากจีน

2.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ไทย-ญี่ปุ่น) ระยะทาง 672 กม. ด้วยเทคโนโลยีชินคันเซน ปัจจุบันคณะทำงานจากญี่ปุ่นอยู่ระหว่างศึกษาโครงการ

3.กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงินประมาณ 9.46 หมื่นล้านบาท

4.กรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. วงเงิน 1.52 แสนล้านบาท

เส้นทาง กรุงเทพฯ-หัวหิน และ กรุงเทพฯ-ระยอง ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดเรื่องการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน(PPP) คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน เม.ย.59 หลังจากนั้นจะนำเสนอ สคร. เพื่อตั้งคณะกรรมการ PPP ขึ้นมาพิจารณาต่อไป ส่งผลให้หลังจากนี้ไทยจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงรวมกัน 4 เส้นทาง เอื้อหนุนทั้งการเดินทางขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าเชื่อมภูมิภาคอีกด้วย

Info : Nation Online (25 Mar 2016)

       

"บิ๊กตู่" ปิดเกมเจรจา ล้างไพ่ "รถไฟไทย-จีน"

 โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงระหว่างไทย-จีนได้ข้อสรุปชัดเจนแน่แล้ว จะสร้างสายอีสานก่อนเพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบ แหล่งแรงงาน เริ่มจากกรุงเทพฯ-โคราช 250 กม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงเศษ จะเริ่มให้เร็วที่สุดในรัฐบาลชุดนี้

วันที่ 23 มีนาคม 2559 หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เจรจาทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน โดยก่อนหน้านี้เสนอให้ลงทุนในสัดส่วนจีน 60% ไทย 40% แต่การเจรจาไม่สำเร็จเพราะจีนเสนอจะทำ “สัมปทาน” โดยไทยต้องเสียสิทธิ์หลายอย่าง 

ดังนั้นฝ่ายไทยจะลงมือดำเนินการลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งการทำงานยังเป็นแบบจีทูจีกับรัฐบาลจีน ในด้านเทคโนโลยีใช้จากจีน มีวิศวกรมาถ่ายทอด ทั้งหมดเป็นการจ้างก่อสร้าง แต่ใช้เงินในประเทศเรา อาจมีการร่วมทุนกับเอกชนบ้างเรื่องระบบรถ ราง และอาณัติสัญญาณ ซึ่งให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการแล้ว ส่วนเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด รอไปก่อน หากความต้องการมีมากถึงจะเริ่มสร้าง

Info : Prachachat Online (4 Apr 2016)

ภาพพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จับมือกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกฯจีน ในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1 ณ วันที่ 23 มี.ค. 59

Timeline รถไฟความเร็วสูง "ไทย-จีน"

  ล่าสุด! มีนาคม 2559 - “ไทยจะลงทุนเองทั้งหมด” หลังจีนตัดบทไม่ร่วมลงทุนทั้งโครงการ 60% โดยตัดเส้นทางเหลือเฉพาะ “กรุงเทพฯ-โคราช” ใช้เงินลงทุน 1.7 แสนล้านบาท ตามที่ไทยยื่นข้อเสนอ นอกจากนี้ไทยตัดสินใจปรับลดค่าก่อสร้างลง จากทั้งโครงการลงทุนถึง 5.3 แสนล้านบาท  รูปแบบการลงทุนก็เปลี่ยนเป็น PPP โดยรัฐบาลไทยลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐาน และให้เอกชนไทย หรือจีนลงทุนงานระบบและเดินรถ เป็นไปได้ว่าอาจจะใช้เทคโนโลยีจากจีน มกราคม 2559 - ไทยเสนอรูปแบบการลงทุนใหม่ ให้จีนลงทุนเพิ่มจาก 40:60 เป็น 30:70 และต้องครอบคลุมการก่อสร้างทั้งหมด หลังจากที่เคยเสนอให้มีสัดส่วนการลงทุนเพิ่มที่ 50:50 และครอบคลุมงานก่อสร้างด้วยแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป กันยายน 2558 - จีนได้ส่งผลการศึกษาเบื้องต้นแล้ว แต่ฝ่ายไทยขอให้ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องประมาณการราคามูลค่าการก่อสร้าง ประมาณการรายได้จากการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังขอให้จีนร่วมลงทุนเพิ่มเติมอีกเป็น 50:50 จากเดิม 40:60 แต่จีนขอกลับไปพิจารณาก่อน ส่วนด้านการเงินยังคงเป็นปัญหา โดยจีนยังเสนอมาว่าดอกเบี้ย 3% ยังสูงกว่าเงินกู้ในประเทศของไทยและยังต้องต่อรองให้ลดลงมาอีก สิงหาคม 2558 - รูปแบบการลงทุน ฝ่ายไทยจะลงทุนก่อสร้างโครงสร้างงานโยธาโดย ร.ฟ.ท. เป็นผู้ดำเนินการใช้เงินกู้ในประเทศก่อสร้าง ส่วนงานระบบเดินรถและซ่อมบำรุงซึ่งคาดว่าจะใช้วงเงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท ฝ่ายจีนตกลงจะร่วมลงทุนด้วยเบื้องต้นประมาณ 40% ขณะที่ข้อเสนอให้จีนเข้าร่วมทุนทั้งโครงการยังไม่ได้ข้อสรุป สำหรับข้อตกลงด้านการเงินยังเป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะคิดอัตราดอกเบี้ยเท่าใด มิถุนายน 2558 - รูปแบบการลงทุนในลักษณะการร่วมลงทุนระหว่างไทย-จีน โดยรวมระบบรถไฟและอาณัติสัญญาณเข้ามาในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนด้วย จากเดิมที่ร่วมทุนเฉพาะการเดินรถและการซ่อมบำรุง ซึ่งฝ่ายจีนขอเวลาพิจารณาก่อน ขณะที่ด้านการเงินยังไม่ได้ข้อสรุป โดยฝ่ายจีนรับปากที่จะพิจารณารูปแบบเงื่อนไขเงินกู้ที่ดีที่สุด  มีนาคม 2558 - จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีนขึ้นมาเดินรถ โดยจีนถือหุ้นไม่เกิน 40% ไทยถือหุ้น 60% ขึ้นไป ช่วงปีที่ 1-3 ให้จีนเดินรถเป็นหลัก ปีที่ 4-7 ให้ 2 ประเทศร่วมกันเดินรถ และปีที่ 7 เป็นต้นไป ให้ไทยเดินรถเป็นหลัก ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุนยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ฝ่ายไทยเสนอให้ระดมทุนได้จากหลายแหล่ง ทั้งงบประมาณแผ่นดิน กู้จากเอกชน หรือกู้จากจีน กุมภาพันธ์ 2558 - จะใช้เป็นความร่วมมือแบบ “จ้างเหมาเบ็ดเสร็จ (EPC)” โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกตามช่วงเวลา อาทิ ก่อนก่อสร้าง-จีนรับผิดชอบศึกษาและออกแบบ ไทยรับผิดชอบเวนคืนและทำอีไอเอ เป็นต้น ส่วนเรื่องแหล่งเงินทุน จีนเสนอให้ไทยกู้ใน 2 รูปแบบ ที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาชำระคืนเงินต้นที่แตกต่างกัน มกราคม 2558 - แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง วงเงินลงทุน 5.3 แสนล้านบาท ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. ซึ่งการก่อสร้างอาจแบ่งเป็น 2 แผนงาน คือช่วง 1 และ 2 กับ 3 และ 4 ปี 2557ลงนาม  MOU "ในรัฐบาล คสช." รถไฟไทย-จีน เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 ม. ปี 2556 - ลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือ โดยจีนได้จัดฝึกอบรมบุคลากรด้านรถไฟความเร็วสูงให้แก่ฝ่ายไทยรวม 100 คน ปี 2555 - ผลของ MOU "สมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย" จีนได้ช่วยเหลือไทยแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทย ในการศึกษารายละเอียดโครงการเบื้องต้น 2 เส้นทาง คือ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย กับกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงินลงทุน 3 แสนล้านบาท โดยฝ่ายจีนได้ส่งมอบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ ของทั้งสองเส้นทางให้แก่กระทรวงคมนาคมไทยในเดือน ต.ค. 2555 ปี 2553 ข้อตกลง MOU "สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ " ไทยและจีนได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบรัฐวิสาหกิจ สัดส่วน 51 : 49 ก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย วงเงินลงทุน 1.8 แสนล้านบาท โดยฝ่ายจีนจะขอสัมปทานเช่าใช้เส้นทางจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 50 ปี ซึ่ง MOU ฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาในมาตรา 190 แล้ว แต่รัฐบาลยุบสภาไปเสียก่อน Info : Prachachat Online (4 Apr 2016), Thansettakij (30 Mar 2016), Thaipublica (26 Feb 2016)    

"อาคม" เตรียมชงครม.ไฟเขียว "รถไฟไทย-ญี่ปุ่น"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. ที่ร่วมมือกับทางญี่ปุ่น คาดว่าจะมีการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในเดือน มิ.ย.นี้ และปลายปีจะส่งรายงานผลการศึกษาฉบับสุดท้ายให้ ครม.เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 61 ทางด้าน รฟม. เผย ได้ข้อสรุปโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ภายในปลายปีนี้ อย่างแน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ และการแบ่งสัดส่วนการลงทุนของทั้ง 2 ประเทศ Info : ฺBangkokbiznews (21 Mar 2016)
ภาพพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOC) กับรัฐมนตรีญี่ปุ่น ณ วันที่ 29 พ.ค. 58
 

Timeline รถไฟความเร็วสูง "ไทย-ญี่ปุ่น"

ล่าสุด! กุมภาพันธ์ 2559 - ญี่ปุ่นสนใจที่จะลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงอีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพ-ระยองและกรุงเทพ-หัวหิน เนื่องจากต้องการให้ใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่นซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับผู้ประกอบการฝ่ายไทยในการลงทุนดังกล่าว ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ คาดว่าจะนำผลการศึกษาเส้นทางไปให้ ครม. รับทราบกลางปี 59 และปลายปีจะส่งรายงานผลการศึกษาฉบับสุดท้ายให้ ครม.เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 61 พฤศจิกายน 2558ลงนาม MOC กับญี่ปุ่น เส้นทางรถไฟเชื่อมตะวันออก-ตะวันตกด้านใต้ แต่จะก่อสร้างเป็นรถไฟทางคู่ขนาด 1 ม. และนำหัวรถจักรไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี 180 กม., กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ 255 กม. และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง 139 กม. เริ่มพัฒนาเส้นทางเดิมที่ ร.ฟ.ท. กำลังปรับปรุงเป็นช่วงๆ ให้แข็งแรง โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (SPV) เดินรถขนส่งสินค้า ตุลาคม 2558 รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ญี่ปุ่นยืนยันว่าต้องการแยกระบบของรถไฟรถไฟความเร็วสูง ระบบชินคันเซ็น ออกจากทุกระบบ 100%  และจะจัดสรรพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อให้กับญี่ปุ่น เนื่องจากในการให้บริการรถไฟความเร็วสูงจะต้องเชื่อมเข้าสู่สถานีใหญ่เพื่อประโยชน์สูงสุด พฤษภาคม 2558 - ลงนามในบันทึกความร่วมมือ หรือ MOC ด้านระบบราง 2 เส้นทาง คือ 1. รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ 2. เส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ กาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ,กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง มี 2 แนวทาง คือ ปรับปรุงพัฒนาทางเดิมที่มีขนาดราง 1 ม. หรือ หากในอนาคตต้องการเชื่อมต่อเส้นทางกับทางพม่า-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม จะต้องหารือกัน 4 ประเทศ ว่าจะต่อเชื่อมกันด้วยรางขนาด 1 ม. หรือ 1.435 ม. ขณะที่เส้นทาง ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร ระยะทาง 718 กม. จะเป็นแค่การศึกษาร่วมกันเท่านั้น  กุมภาพันธ์ 2558รัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามบันทึกเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือ หรือ MOI ทางญี่ปุ่นแสดงความสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ยังไม่ระบุว่าจะปรับปรุงระบบเส้นทางรถไฟเดิมขนาดทาง 1 ม. หรือสร้างเส้นทางใหม่มาตรฐาน 1.435 ม. มกราคม 2558โดยไทยเสนอเส้นทางรถไฟ 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นเลือก 1. ระเบียงตะวันตก-ตะวันออก ในเส้นทางพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-อรัญประเทศ-สระแก้ว 2. แนวระเบียงจากทางด้าน แม่สอด-ตาก-มุกดาหาร 3. เส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่  Info : Thainews (1 Feb 2016), Manager Online (29 May 2015), Prachachat Online (14 Apr 2015)      

 

1. เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา (ภายใต้ความร่วมมือ ไทย-จีน)

Status : ส่งรายงาน EIA แล้ว ซึ่งจะมีการประชุมสรุปงบการลงทุนอีกครั้งในเดือน เม.ย. 59 และจะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 59 ลักษณะโครงการ : ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง แบบทางคู่ ระยะทาง : 250 กม. ระบบราง : Standard Gauge กว้าง 1.435 ม. ความเร็ว : 250 กม./ชม. งบลงทุน : 170,000 ลบ. รูปแบบการลงทุน : ไทยลงทุนเอง 100% ผู้โดยสาร : 23,000 คน/วัน ค่าโดยสาร : 530 บ./เที่ยว ระยะเวลาก่อสร้าง : 4 ปี เริ่มก่อสร้าง : 2559 คาดว่าจะแล้วเสร็จ : 2562
โครงการนี้ยืนยันไทยลงทุนทำเองทั้งหมดเพราะขีดความสามารถสูงอยู่ โดยเงินลงทุนประมาณ 176,598 ลบ. อาศัยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบอาณัติสัญญาณ และตัวรถไฟจากจีน จากผลการศึกษาเบื้องต้นคาดว่าจะได้ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ประมาณ 1% และได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 10% เฟสที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. กำลังทำรายงานอีไอเอ จะเสร็จเดือน ก.พ. 2560 ใช้เงินลงทุน 240,000 ลบ. มีค่าเวนคืน 5,000 ลบ. แต่จะเลื่อนการก่อสร้างออกไปจนกว่าจะมีความพร้อม
แนวเส้นทาง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มี 8 สถานี 1.สถานีเชียงรากน้อย 2.สถานีชุมทางบ้านภาชี 3.สถานีสระบุรี 4.สถานีแก่งคอย 5.สถานีปางอโศก 5.สถานีปากช่อง 7.สถานีโคกสะอาด 8.สถานีโคราช
   

2. เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ (ภายใต้ความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น)

Status : ยังไม่ผ่าน EIA คาดว่าจะพิจารณาอนุมัติได้ภายใน มิ.ย. 59 ก่อนจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ ลักษณะโครงการ : ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง แบบทางคู่ ระยะทาง : 672 กม. ระบบราง : Standard Gauge กว้าง 1.435 ม.  ความเร็ว : มากกว่า 250 กม./ชม. ใช้เทคโนโลยีชินคันเซน งบลงทุน : 449,000 ลบ. รูปแบบการลงทุน : ไทยร่วมทุนกับญี่ปุ่น(อยู่ระหว่างการพิจารณา) ผู้โดยสาร : 34,000 คน/วัน ค่าโดยสาร : 1,800 บ./เที่ยว ระยะเวลาก่อสร้าง : 3-4 ปี เริ่มก่อสร้าง : 2560 คาดว่าจะแล้วเสร็จ : 2564
โครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น คาดว่าจะได้ข้อสรุปร่วมกันภายในปลายปีนี้ (2559) ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบและการแบ่งสัดส่วนการลงทุนของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งต้องพิจารณาความเหมาะสมการก่อสร้าง เพราะทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟไทย-จีน จากสถานีบ้านภาชี-สถานีบางซื่อ จะต้องมีการหารือแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาก่อน โดยคาดว่า ประมาณ มิ.ย. 59 จะสามารถนำเรื่องเข้าเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาและศึกษารายละเอียดโครงการได้ และกลางปี 2560 จะนำเรื่องเข้าเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อขออนุมัติก่อสร้างโครงการ โดยตามแผนงานเดิมจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยจะเจรจากับญี่ปุ่น เพื่อขอเลื่อนกำหนดการก่อสร้างให้เร็วขึ้นเป็นปี 2560 แทน
แนวเส้นทาง ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก มี 7 สถานี 1.สถานีกลางบางซื่อ 2.สถานีดอนเมือง 3.สถานีอยุธยา 4.สถานีลพบุรี 5.สถานีนครสวรรค์ 6.สถานีพิจิตร 7.สถานีพิษณุโลก ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ มี 5 สถานี 8.สถานีสุโขทัย 9.สถานีศรีสัชนาลัย 10.สถานีลำปาง 11.สถานีลำพูน 12.สถานีเชียงใหม่
 

3. เส้นทางกรุงเทพฯ - หัวหิน

Status : อยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พิจารณารอบที่ 5 กรณีผ่านพื้นที่ป่าชายเลน ลักษณะโครงการ : ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง แบบทางคู่ ระยะทาง : 211 กม. ระบบราง : Standard Gauge กว้าง 1.435 ม. ความเร็ว : 250 กม./ชม. งบลงทุน : 94,600 ลบ. รูปแบบการลงทุน : คาดว่าเอกชนลงทุน 100% ผู้โดยสาร : 13,000 คน/วัน ค่าโดยสาร : 560 บ./เที่ยว ระยะเวลาก่อสร้าง : 3 ปี เริ่มก่อสร้าง : n/a คาดว่าจะแล้วเสร็จ : n/a

เตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) ไม่เกินไตรมาส 2 (ปี 2559) หลังจากนั้นจะมีการจัดทำทีโออาร์ก่อนและเปิดประมูลไตรมาส 3 (ปี 2559) เพื่อให้ได้ผู้ประมูลในปีหน้า โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 8.11%  แต่เมื่อพัฒนาเส้นทางต่อไปและสุดสายปาดังเบซาร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.76% จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชม. โดยในระหว่างนี้ก็จะใช้รถไฟฟ้าราง 1 ม. ไปก่อน

แนวเส้นทาง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน มี 5 สถานี 1.สถานีกลางบางซื่อ 2.สถานีนครปฐม 3.สถานีราชบุรี 4.สถานีเพชรบุรี  5.สถานีหัวหิน
   

4. เส้นทางกรุงเทพฯ - ระยอง

Status : อยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) คาดว่าเดือน ก.ค. 59 จะเสนอ ครม. เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ ลักษณะโครงการ : ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง แบบทางคู่ ระยะทาง : 193 กม. ระบบราง : Standard Gauge กว้าง 1.435 ม. ความเร็ว : 250 กม./ชม. งบลงทุน : 152,000 ลบ. รูปแบบการลงทุน : n/a ผู้โดยสาร : 13,000 คน/วัน ค่าโดยสาร : 550 บ./เที่ยว ระยะเวลาก่อสร้าง : 4 ปี เริ่มก่อสร้าง : 2560 คาดว่าจะแล้วเสร็จ : 2564
ทางด้านกระทรวงคมนาคมเสนอว่า จะให้เอกชนลงทุนทั้งหมด หรือให้เอกชนลงทุนเฉพาะส่วนระบบเดินรถและรัฐบาลลงทุนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน หรือให้รัฐบาลลงทุน ทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐาน และระบบเดินรถ และเอกชนเดินรถเพียงอย่างเดียว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาและให้เสนอข้อสรุปอีกครั้งในการประชุมครั้งหน้า และคาดว่าเดือนพฤษภาคม 2560 จะได้เริ่มงานก่อสร้าง โดยคาดการณ์ว่าจะมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 13%  
แนวเส้นทาง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง มี 6 สถานี 1.สถานีกลางบางซื่อ 2.สถานีลาดกระบัง 3.สถานีฉะเชิงเทรา 4.สถานีชลบุรี 5.สถานีพัทยา 6.สถานีระยอง
*ตำแหน่งสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูล ณ วันที่  5 เม.ย. 59      

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

   
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon