realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง

04 May 2017 46.7K

ทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง

04 May 2017 46.7K
 

ทางด่วนพระราม3-ดาวคะนอง วงแหวนรอบนอกตะวันตก

Timeline การดำเนินโครงการ

เมื่อปี 2562 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เปิดประมูลและประกาศพลผู้ชนะทั้ง 4 สัญญาการว่าจ้าง โดยลงนามสัญญาที่ 4 เป็นสัญญาแรก โดยมี บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล
ปี 2563 ได้ลงนามสัญญาที่ 2 กับกลุ่มบริษัท ไชน่าฮาร์เบอร์-ทิพากร-บุรีรัมย์ธงชัย และเริ่มการก่อสร้างโครงการสัญญาที่ 2 และ 4 และมีการเรียกร้องให้ผลการประกวดราคาสัญญาที่ 1 และ 3 เป็นโมฆะ ซึ่ง กทพ. ก็ได้ยกเลิกตามข้อเรียกร้อง เพราะผู้ชนะการประมูลขาดคุณสมบัติ ซึ่งในส่วนของทั้ง 2 สัญญาที่ถูกยกเลิกนั้น กทพ.ได้ทำการปรับปรุงแก้เงื่อนไขในสัญญาใหม่ กำหนดรายละเอียดคุณสมบัติให้ชัดเจนขึ้น เพื่อไม่ให้ผิดพลาดเหมือนกับสัญญาการประมูลครั้งที่ผ่านมา
โดยในสัญญาใหม่ที่กทพ.แก้ไขนั้น ได้ปรับระยะเวลาก่อสร้างให้สั้นลง (จากระยะเวลาก่อสร้าง 39 เดือน เหลือ 34 เดือน) เพื่อให้ดำเนินการเสร็จใกล้เคียงกับสัญญาที่ 2 และ 4 ที่ดำเนินการไปก่อนแล้ว และในสัญญายังมีการปรับราคากลางเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ราคาน้ำมัน, เหล็ก ที่เพิ่มสูงขึ้น ตามกลไกตลาด และเนื่องจากมีการลดเวลาการก่อสร้างลง จึงทำให้ต้องเพิ่มทรัพยากรและเครื่องจักรในการทำงาน
โดยคาดว่าสัญญาที่ 2 และ 4 ที่ได้ก่อสรา้งไปก่อนแล้วนั้นจะเสร็จในปี 2566 และเสร็จทั้งโครงการในปี 2567

ความคืบหน้าโครงการ

สัญญางานจ้างก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก
  • สัญญาที่ 1
    • เดิมกิจการร่วมค้า CNA (ประกอบด้วย บจ.ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง, บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964)) เป็นผู้ชนะการประกวดราคาในสัญญาที่ 1 แต่ต้องถูกยกเลิกสัญญาไป เพราะ บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด (ผู้ร่วมค้า) มีมูลค่าผลงาน (เฉพาะงานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องสำเร็จรูป) ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคา เนื่องจากผลงานดังกล่าวมีมูลค่าน้อยกว่า 700 ลบ. จึงไม่ผ่านคุณสมบัติด้านผลงาน
    • กิจการร่วมค้า ยูเอ็น-ซีซี ประกอบด้วย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซีวิล คอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล และดำเนินการก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันมีความคืบหน้าประมาณ 28%
  • สัญญาที่ 2
    • กลุ่มบริษัท ไชน่าฮาร์เบอร์-ทิพากร-บุรีรัมย์ธงชัย เป็นผู้ชนะการประมูล และดำเนินการก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันมีความคืบหน้าประมาณ 67%
  • สัญญาที่ 3
    • เดิมกิจการร่วมค้าไชน่าเรลเวย์-ซีวิล-บุญชัย เป็นผู้ชนะการประกวดราคาในสัญญาที่ 3 แต่บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (1 ในผู้แพ้ประมูล) ยื่นอุทธรณ์คัดค้านผลการประกวดราคา พบว่า มีมูลความจริงและฟังขึ้น ทำให้สัญญาที่ 3 ถูกยกเลิกไป เนื่องจากบริษัทซีวิล เอนจีเนียริง จำกัด (ผู้ร่วมค้า) มีผลงานมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ จึงไม่ผ่านคุณสมบัติด้านผลงาน
    • กิจการร่วมค้า ไอทีดี-วีซีบี ประกอบด้วยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล และดำเนินการก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันมีความคืบหน้าประมาณ 28%
  • สัญญาที่ 4
    • บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และดำเนินการก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันมีสร้างเสร็จแล้ว 100%
โดยคาดว่าจะสามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2567

รายละเอียดด่านขึ้น - ลง

สำหรับด่านทางขึ้น-ลงของทางด่วนเส้นทางนี้ มีจำนวน 7 จุด ประกอบด้วย
  • ด่านแห่งที่ 1 (ถ.พระราม 2 ซอย 84 ใกล้ชุมชนบางกระดี่)
  • ด่านแห่งที่ 2 (ถ.พระราม 2 ซอย 69 ใกล้ถ.บางขุนเทียน)
  • ด่านแห่งที่ 3 (ถ.พระราม 2 ซอย 50 ใกล้วัดเลา)
  • ด่านแห่งที่ 4 (ถ.พระราม 2 ซอย 33 ใกล้วัดยายร่ม)
  • ด่านแห่งที่ 5 (ถ.พระราม 2 ซอย 27 ใกล้ถ.พุทธบูชา)
  • ด่านแห่งที่ 6 ด่านสุขสวัสดิ์ (ปรับปรุงด่านเดิม)
  • ด่านแห่งที่ 7 ด่านบางโคล่
Images : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
โครงการนี้จัดเป็น 1 ใน 6 โครงการระยะเร่งด่วนตามแผนการพัฒนาระบบทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ที่จะเร่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป มีระยะทางประมาณ 18.7 กิโลเมตรแนวเส้นทางเริ่มจากช่วงถนนพระราม 3 เชื่อมกับจุดทางด่วนเฉลิมมหานครและทางด่วนศรีรัชช่วงกิโลเมตรที่ 18+000 โดยช่วงพระราม 3 -ดาวคะนองมีระยะทางช่วงนี้ประมาณ 17.10 กิโลเมตร โดยจะมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยาคู่ขนานไปกับสะพานพระราม 9 หรือสะพานแขวนในปัจจุบัน ในส่วนช่วงดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก มีระยะทางประมาณ 11.60 กิโลเมตรไปสิ้นสุดที่จุดเลยจากทางแยกต่างระดับบางขุนเทียนประมาณ กิโลเมตรที่ 13+000 ไปตามทางหลวงหมายเลข35 มุ่งสู่ภาคใต้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น 

Project “Motorway บางขุนเทียน – วังมะนาว”

มีจากจุดเริ่มต้นที่ทางขึ้นทางด่วนพระราม 3 – วงแหวนรอบนอกตะวันตก บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน ไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เป็นระยะทางกว่า 75 กม. ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 87,000 ลบ. โดยที่ Phase 1 บางขุนเทียน – มหาชัย จะมีระยะทาง 11.5 กม. ใช้งบประมาณ 15,000 ลบ. อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มอเตอร์เวย์ บางขุนเทียน - วังมะนาว

กทพ.ลงทุนเอง 3.2 หมื่นล้าน ลุยตัดด่วนใหม่ 19 กม.เชื่อม "พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก" เผยโครงการเดินหน้าฉลุย ใช้เงินเวนคืนน้อย 807 ล้านบาท ชดเชยที่ดิน 6 ไร่ บ้าน 79 หลัง เตรียมชง ครม.ไฟเขียวโครงการ ตั้งเป้าเปิดประมูลสิ้นปีนี้ เริ่มตอกเข็ม พ.ค.ปี"60 เปิดใช้ปี"63

นายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ระยะทาง 19 กม. ใช้เงินลงทุน 32,000 ล้านบาท รายงานผลการศึกษาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ยังเหลือแต่การออกแบบรายละเอียดโครงการมีความคืบหน้าแล้วกว่า 80% คาดว่าภายในเดือน พ.ย.นี้จะแล้วเสร็จ จากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโครงการ ตามแผนสิ้นปีนี้จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาและเซ็นสัญญาก่อสร้างภายในเดือน เม.ย.-พ.ค. 2560 ใช้เวลาก่อสร้าง 39 เดือน จะแล้วเสร็จเปิดใช้ในเดือน ก.ค. 2563
ปัจจุบันกทพ.อยู่ระหว่างเสนอรัฐบาลให้รัฐสนับสนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด(ประมาณ 807 ล้านบาท) และระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย(Thailand FutureFun : TFF) พร้อมขอความเห็นชอบเรื่องพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราษฎร์บูรณะกรุงเทพมหานคร อีกทั้งขอความเห็นชอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไป นายณรงค์กล่าวว่า ทางด่วนสายนี้เป็นโครงการเร่งด่วนที่ กทพ. ต้องเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันทางพิเศษเฉลิมมหานครหรือทางด่วนขั้นที่ 1 บริเวณดาวคะนอง ซึ่งเป็นเส้นทางหลักสายหนึ่งในการเดินทางเข้าใจกลางเมือง โดยต้องผ่านสะพานพระราม 9 เพียงสะพานเดียว ส่งผลให้มีปริมาณการจราจรหนาแน่นมาก อีกทั้งสะพานมีอายุการใช้งานนานกว่า 30 ปี หากต้องปิดซ่อมเพื่อปรับปรุงจะส่งผลกระทบด้านการจราจรอย่างมาก
สำหรับจุดด่านทางขึ้น-ลงของทางด่วนเส้นทางนี้มีจำนวน 7 จุดสำคัญประกอบด้วย ด่านแห่งที่ 1 (ถนนพระราม 2 ซอย 84 ใกล้ชุมชนบางกระดี่)ด่านแห่งที่ 2 (ถนนพระราม 2 ซอย 69 ใกล้ถนนบางขุนเทียน) ด่านแห่งที่ 3 (ถนนพระราม 2 ซอย 50 ใกล้วัดเลา) ด่านแห่งที่ 4 (ถนนพระราม2 ซอย 33 ใกล้วัดยายร่ม)ด่านแห่งที่ 5 (ถนนพระราม 2 ซอย 27 ใกล้ถนนพุทธบูชา) ด่านแห่งที่ 6 ด่านสุขสวัสดิ์ และด่านแห่งที่ 7 ด่านบางโคล่ โดยที่ด่าน ดาวคะนอง 2 จะเป็นด่านยกระดับ

ตำแหน่งด่านทางขึ้น-ลง

ด่านแห่งที่ 1 (ถนนพระราม 2 ซอย 84 ใกล้ชุมชนบางกระดี่) หรือ ด่านบางขุนเทียน ของ  Motorway กรุงเทพฯ-วังมะนาว
ด่านแห่งที่ 2 (ถนนพระราม 2 ซอย 69 ใกล้ถนนบางขุนเทียน)
ด่านแห่งที่ 3 (ถนนพระราม 2 ซอย 50 ใกล้วัดเลา)
ด่านแห่งที่ 4 (ถนนพระราม2 ซอย 33 ใกล้วัดยายร่ม)
ด่านแห่งที่ 5 (ถนนพระราม 2 ซอย 27 ใกล้ถนนพุทธบูชา)
ด่านแห่งที่ 6 ด่านสุขสวัสดิ์ (ปรับปรุงด่านปัจจุบัน)
ด่านแห่งที่ 7 ด่านบางโคล่
Images : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
Images : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
รูปแบบโครงสร้างช่วงสะพานข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยา
ลักษณะโครงการเป็นแนวเส้นทางยกระดับ ขนาด 6 ช่องจราจร(ทิศทางละ 3 ช่องจราจร)ซ้อนทับไปตามเกาะกลางถนนพระราม 2 จนถึงด่านเก็บค่าผ่านทางดาวคะนอง จากนั้นซ้อนทับบนทางพิเศษเฉลิมมหานครจนถึงบริเวณถนนพระราม 3ใกล้กับทางแยกต่างระดับบางโคล่ โดยช่วงที่ข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยาจะก่อสร้างสะพานใหม่ขนาด 8 ช่องจราจรทิศทางละ 4 ช่องจราจรขนานอยู่ด้านทิศใต้ของสะพานพระราม 9
Images : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
มูลค่าการลงทุนโครงการดังกล่าวนี้ 31,244 ล้านบาท จำแนกเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประมาณ 807 ล้านบาท(ค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 526 ล้านบาท ค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง ประมาณ 681 ล้านบาท) ค่าก่อสร้าง(รวมค่าควบคุมงาน) 30,437 ล้านบาท ปัจจุบันกทพ.อยู่ระหว่างเสนอรัฐบาลให้รัฐสนับสนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด(ประมาณ 807 ล้านบาท) และระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย(Thailand FutureFun : TFF) พร้อมขอความเห็นชอบเรื่องพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราษฎร์บูรณะกรุงเทพมหานคร อีกทั้งขอความเห็นชอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไป Info : ฐานเศรษฐกิจ
Info : ฐานเศรษฐกิจ  

อัพเดตคความคืบหน้าโครงการ (มิถุนายน 2563)

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มีการว่าจ้าง บริษัท ช.การช่าง ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 4

ซึ่งเป็นการลงเสาเข็มและฐานรากของโครงการสะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 จึงต้องมีการจำกัดเส้นทางเดินรถบริเวณ ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.63 ถึงวันที่ 31 ก.ค. 63 ดังนี้

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณทางราบก่อนขึ้นสะพานพระราม 9 จะปิด 1 ช่องจราจรด้านซ้ายสุดทาง

ทางพิเศษศรีรัช บริเวณทางลงบางโคล่-สะพานพระราม 9 จะปิด 1 ช่องจราจรด้านขวาสุดทาง

Info : mgronline  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon